การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

สุฑาพร คบหมู่
สุพจน์ แสงเงิน
พิชัย สุริยะสุขประเสริฐ
สุภาพ วิเศษศรี
บัญชา สุริยะสุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน จำนวน 337 คน ซึ่งได้จากตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติที และสถิติเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่ต่างกัน และ 3. แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน พบว่า การกำหนดเป้าหมายของทีมและรายบุคคลให้เหมาะสมกับทักษะและความสามารถ การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจในทีม ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในทีม มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดขึ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการสร้างความไว้วางใจ ไม่มุ่งร้ายและมีเมตตาต่อกัน ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจกันและเกิดความเชื่อมั่นในทีม และทำให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
คบหมู่ ส., แสงเงิน ส., สุริยะสุขประเสริฐ พ., วิเศษศรี ส., & สุริยะสุขประเสริฐ บ. (2024). การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารศิลปการจัดการ, 8(3), 507–524. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/271555
บท
บทความวิจัย

References

Chaichotiranan, S. (2008). The new manager: Speeding, overtaking the pros. Bannakit.

Chitnawasarn, C. (2016). A study of teamwork among teachers in Khlong Yai District, under the Trat Primary Educational Service Area Office[Master’s thesis, Burapha University].

Khaemmani, T. (2002). Group relations for teamwork and teaching and learning. Department of Primary Education, Chulalongkorn University.

Kongphruew, N. (2020). A study of the role of teamwork of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office[Master’s thesis, Rambhaibarni Rajabhat University].

Kophon, J. (2019). Teamworking of teachers in school of Phra That Mahachai consortium under the secondary educational service area office 22[Master’s thesis, Burapha University].

McCloskey, J.C., & Maas, M. (1998). Interdisciplinary team: The nursing perspective is essential. Nursing Outlook, 46(4), 157-163. https://doi.org/10.1016/S0029-6554(98)90067-7

Nonthasi, W. (2022). Guidelines for developing teamwork of small educational institutions under Maha Sarakham Primary Educational Service Area Office 2[Master’s thesis, Maha Sarakham Rajabhat University].

Office of the Basic Education Commission. (2010). Teacher competency assessment manual (revised edition). Office of the Basic Education Commission.

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Prikwarn Graphic.

Office of the National Education Commission. (2010). National Education Act 1999, and additional amendments (No. 3) 2010. Office of the Prime Minister.

Phao-at, L. (2016). Teamwork of civil servant teachers in schools expands opportunities, Mueang Trat District, under the jurisdiction of the Trat Primary Educational Service Area Office[Master’s thesis, Burapha University].

Prompipattanaporn, K. (2018). Guidelines for developing teamwork of teachers in schools under the area office Nakhon Ratchasima Primary Education Area 1[Master’s thesis, Nakhon Ratchasima Rajabhat University].

Rattana, N., & Chookhampaeng, C. (2020). The development of competency’s team work for supporting personnel of Mahasarakham University. Journal of Educational Administration and Supervision, Mahasarakham University, 11(2), 41-49. https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/272

Romig, D. A. (1996). Breakthrough teamwork: Outstanding result using structrued teamwork (2nd ed.). Performance Research.

Silpharu, T. (2020). Research and statistical data analysis with SPSS. We Interprint.

Suntharayuth, T. (2008). Reformative management: educational theory, research, and practice. Netikul Printing.

The Secondary Educational Service Area Office Surin. (2023). Basic Education Development Plan (2023-2027). Policy and Planning Group, The Secondary Educational Service Area Office Surin, Thailand.

Umsin, A. (2017). A study of teamwork among teachers in educational institutions under the area office. Secondary Education, Area 17[Master’s thesis, Rambhaibarni Rajabhat University].

Varney, G. (1977). Organization development for managers. Addison Wesley.

Vilailaeng, K. (2016). Teamwork performance of teachers in schools under the Rayong provincial administrative organization[Master’s thesis. Burapha University].

Wongrot, N. (2017). A study on relationship between teamwork components and academic operation of schools under the secondary educational service area office 5[Master’s thesis, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University].

Woodcock, M. (2016, December 16). Team development manual (e-book). https://doi.org/10.4324/9781315241715