ความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษา: พหุกรณีศึกษา

Main Article Content

ปิยภัทร์ จิรปุณญโชติ
ชำนาญ ปาณาวงษ์
เอื้อมพร หลินเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะของครูและผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบแผนพหุกรณี เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลคือครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 16 กรณี ใช้วิธีคัดเลือกกรณีเด่นหรือกรณีรู้จัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์คำหลัก 2) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ 3) การสร้างข้อสรุปอุปนัย และ 4) การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะ ประกอบด้วย ปัจจัยและเงื่อนไขภายใน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเจตคติ ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน ปัจจัยและเงื่อนไขภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านผู้บริหารโรงเรียน ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยด้านนักเรียน และปัจจัยด้านสังคม กลุ่มไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะ ประกอบด้วย ปัจจัยและเงื่อนไขภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยและเงื่อนไขภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงาน 2) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า ครูผู้ประสบความสำเร็จการพัฒนาวิทยฐานะได้ ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกระบวนการพัฒนาวิทยฐานะ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกระบวนการการพัฒนาวิทยฐานะบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพ

Article Details

How to Cite
จิรปุณญโชติ ป., ปาณาวงษ์ ช., & หลินเจริญ เ. (2024). ความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษา: พหุกรณีศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 8(3), 666–681. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/269966
บท
บทความวิจัย

References

Achawamety, T. et al. (2021). Fundamentals of empirical research. Chulalongkorn University.

Boonsathirakul, J. (2021). Career and life development. Faculty of Education, Kasetsart University.

Buasan, R. (2015). Qualitative research in education (5th ed.). Chulalongkorn University.

Chantadee, S. (2013). Teacher professional development practice manual: Expert Level Teachers. Think Beyond.

Chantawanich, S. (2022). Qualitative research methods. Chulalongkorn University.

Erawan, P. (2019). A Synthesis of systems and approaches to reforming the teacher professional development: Transforming conceptions of professional learning to practices. Silpakorn Educational Research Journal, Silpakorn University, 11(2), 160-178. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/208090

Kitrungruang, P., & Sirisamphan, O. (2018). Teacher professional learning community: Strategies for improving educational quality: Concepts to practice. M&N Design.

Lincharoen, A. (2012). Qualitative data analysis techniques. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University: JEM-MSU, 17(1), 17-29. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/149164

Panawong, C. (2020). Qualitative research methods from concept, Theory to practice. Naresuan University.

Pothisita, C. (2021). The science and art of qualitative research. Handbook for students and social science researchers. Mahidol University.

Sirirat, Y. (2018). Educational quality indicators of primary school[Doctoral dissertation, Silpakorn University].

Suthasinobon, K. (2021). Professional teachers: The spirit of science and the art of being a teacher. Commercial World Media Company Limited.

Taengjuang, P. (2011). Model for developing the competencies of educational personnel. Duangkamon.

Wadeecharoen, W. (2017). Research methods from concept, theory to practice. SE-EDUCATION.