การพัฒนาแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมในชุมชนจากการจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมของประชาชนในชุมชนที่มีการจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลกระทบทางสังคมเชิงบวกและเชิงลบ จำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.913 สำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน 8 อำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผ่านการสุ่มและใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นจำนวน 480 คน และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานสำหรับแบบสอบถาม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบทางสังคมเชิงบวกอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และผลกระทบทางสังคมเชิงลบอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.69 2) ประชาชนที่มีเพศและอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบทางสังคมไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลกระทบทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมของประชาชนในชุมชนที่มีการจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติ พบว่า ตัวแทนประชาชนให้ความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนและหลีกเลี่ยงการสร้างความเอะอะโวยวายหรือการทะเลาะวิวาท ดังนั้นการระบุ ประเมิน และตอบสนองผลกระทบทางสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดการสนับสนุนของประชาชนในชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
Ap, J. (1992). Residents' perceptions on tourism impacts. Annuals of Tourism Research, 19(4), 665-690.
Bull, C., & Lovell, J. (2007). The impact of hosting major sporting events on local residents: an analysis of the views and perceptions of canterbury residents in relation to the Tour de France 2007. Journal of Sport & Tourism, 12(3-4), 229-248.
Fredline, E. (2005). Host and guest relations and sport tourism. Sport in Society, 8(2), 263-279.
Gursoy, D., & Kendall, K. W. (2006). Hosting mega events: Modeling Locals’ Support. Annals of Tourism Research, 33(3), 603-623.
Hinch, T., & Higham, J. (2005). Sport, tourism and authenticity. European Sport Management Quarterly, 5(3), 243-256.
Hritz, N., & Ross, C. (2010). The Perceived Impacts of Sport Tourism: An Urban Host Community Perspective. Journal of Sport Management, 24, 119-138.
Kanlaya, V. (2005). Statistics for research. Chulalongkorn University.
Kim, K., & Uysal, M. (2003). Perceived socio-economic impacts of festivals and events among organizers. Journal of Hospitality & Leisure Marketing, 10(3-4), 159-171.
Kim, W., Jun, H., Walker, M., & Drane, D. (2015). Evaluating the perceived social impacts of hosting large-scale sport tourism events: SCALE development and validation. Tourism Management, 48, 21-32.
Lorde, T., Greenidge, D., & Devonish, D. (2011). Local residents’ perceptions of the impacts of the ICC Cricket World Cup 2007 on Barbados: Comparisons of pre- and post-games. Tourism Management, 32, 349-356.
Perić, M. (2018). Estimating the perceived socio-economic impacts of hosting large-scale sport tourism events. Social Sciences, 7(10), 629-640.
Prayag, G., Hosany, S., Nunkoo, R., & Alders, T. (2013). London residents' support for the 2012 Olympic games: the mediating effect of overall attitude. Tourism Management, 3(6), 629-640.
Smith, A., & Stevenson, N. (2009). A review of tourism policy for the 2012 Olympics. Cultural Trends, 18(1), 97-102.
Zhou, Y., & Ap, J. (2009). Residents’ Perceptions towards the Impacts of the Beijing 2008 Olympic Games. Journal of Travel Research, 48(1), 78–91.