การนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

หยี่ฟาง แซ่ฟาง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า (1) การนำนโยบายไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย ด้านความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร ด้านทรัพยากรนโยบาย อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ซึ่งในการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้น ทำให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาพรวมของจังหวัด เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านแหล่งหรือกิจกรรมท่องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านการบริการการท่องเที่ยว และด้านการตลาดท่องเที่ยว ตามลำดับ (3) ความสัมพันธ์ของการนำนโยบายไปปฏิบัติของบุคลากรกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ มีค่าระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำมาก (r = 0.102)

Article Details

How to Cite
แซ่ฟาง ห. . (2021). การนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 134–149. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/246929
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2549). มาตรฐานการพัฒนาเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556. จาก http://www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563. จาก https://secretary. mots.go.th/policy/

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. (2558). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการท่องเที่ยวไทย. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2559. จาก ttp://www.thaigov.go.th/index.php/th/

ดวงตา พรหมรักษา. (2558). การนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาชุมชนเกาะปันหยี จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(19), 17-29.

ต่อสกุล มีศิริ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนํานโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของสถานีตํารวจภูธรเมืองนนทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิชนันท์ อ่อนรัตน์. (2561). นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวดัอุบลราชธานี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่ม ธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 228-241.

ประณยา ชัยรังสี. (2556). การนํานโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 151-162.

พิชญะ ชาญณรงค์. (2556). การนํานโยบายการอํานวยความเป็นธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไปปฏิบัติในพื้นที่ 4 อําเภอของจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

มธุรา สวนศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. กระแสวัฒนธรรม, 17(31), 41-55.

มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วรรณวณัช บุรภาม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนํานโยบายการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของเมืองพัทยาไปปฏิบัติ (งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวธิดา ภูมิวรมุน, เสรี วงษ์มณฑา และชุษณะ เตชะคณา. (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 184-201.

ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (2557). นโยบายสาธารณะ. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2554). โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563. จาก https://sme.go.th/th/cms.php?modulekey=118

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2563). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563. จาก http://www.maehongson.go.th/th/province-info/general-info/history.html

อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การประเมินผลการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 62-73.

Cronbach, L. J. (1963). Course Improvement Through Evaluation. Teacher College Record, 64, 672-683.

Runyon, R. P. (1991). Fundamentals of Behavioral Statistics. New York: McGraw-Hill.

Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 445-488.

World Tourism Organization. (1998). Guide for Local Authorities on Development. Sustainable Tourism. Madrid, Spain: WTO Publication.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.