การบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความเสี่ยง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การบริหารความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ทั้งภาพรวมและรายด้านในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560)ก. คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560)ข. การประเมินผลสัมฤทธิ์นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษา.
Best, J. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Hoy, W., & Miskel, C. (2013). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. (9th ed.). New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.
Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2012). Educational Administration: Concepts and Practices. California: Wadsworth Publishing.
Milton, C. R. (1981). Human Behavior in Organization: Three Levels of Behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Worley, C. G., & Lawler, E. E. (2006). Designing Organizations That Are Built to Change. MIT Sloan Management Review, 48(1), 19-23.