อิทธิพลของภาวะการเป็นผู้ประกอบการ การบูรณาการองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่มีต่อ ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของภาวะการเป็นผู้ประกอบการ การบูรณาการองค์ความรู้ นวัตกรรม และผลการดำเนินงาน และเพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะ การเป็นผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการของวิสาหกิจชุมชน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและถูกประเมินในระดับดี จำนวน 206 วิสาหกิจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการประเมินในระดับดีให้ความสำคัญต่อภาวะการเป็นผู้ประกอบการ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.61 รองลงมาด้านนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ย 3.71 ด้านการบูรณาการองค์ความรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.73 และด้านผลการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ย 3.61 โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ภาวะการเป็นผู้ประกอบการต่างมีอิทธิพลต่อการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งการบูรณาการองค์ความรู้ และนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล x2 = 77.90, df = 61, x2/ df = 1.27, GFI = .956, CFI = .990, RMR= .025, RMSEA = .037
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
กษมาพร พวงประยงค์ และนพพร จันทรนำชู. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 108-120.
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2560). ฐานข้อมูลวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562.
________. (2563). รายงานภาพรวมผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. สืบค้น เมื่อ 2 พฤษภาคม 2563. จาก http://www.sceb.doae.go.th/EVALUATION.html.
ชญาภัทร์ กี่อาริยโย, ธีรวุฒิ บุญยโสภณ, ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ และวิเชียร เกตุสิงห์. (2559). รูปแบบ
การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26(1), 141-152.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของ วิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม2560. จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AnnualReport/ Pages/default.aspx
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1), 177-191.
พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์. (2562). ประสิทธิภาพผลประกอบการของธุรกิจเกิดใหม่ Startup ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 99-111.
ยุทธชัย ฮารีบิน, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และสุนันทา เสียงไทย. (2559). ความสามารถด้านเครือข่ายและความสามารถเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนักบริหาร, 36(2), 79-88.
สมบูรณ์ ขันธิโชติ และ ชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2558). การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัด นนทบุรี : กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 125-135.
สหภาพ พ่อค้าทอง. (2557). การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมในการเสริมสร้างศักยภาพการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ประเภทสินค้าศิลปหัตถกรรม. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(1), 69-75.
Carland W.J., Hoy F., Boulton R.W. and Carland A.C.J. (1984). Differentiating entrepreneursfrom small business owners: A conceptualiz. Acdemy of Management Review, 9(2), 354-359.
Conner R.K. and Prahalad K.C. (1996). A Resource-Based Theory of the Firm: Knowledge versus Opportunism. Organization Science, 7(5), 477-501.
Cooper R.J. (1 9 9 8). A Multidimensional Approach to the Adoption of Innovation. Management Decision, 36(8), 493-502.
Drucker F.P. (1996). The Theory of the Business. Harvard Business Review. September-October, 95-104.
Gartner B W. (1988). Who is the entrepreneur? is the wrong question. American Journal of Small Business, 12, 11-32.
Grant M.R. (1996). Toward A Knowledge-Based Theory of The Firm. Strategic Management Journal. 17, pp.109-122.
Kim J. Y., Song S., Sambamurthy V. and Lee L. Y. (2012). Entrepreneurship, knowledge integration capability, and firm performance: An empirical study. Information Systems Frontiers. 14, pp.1047–1060.
Krejcie V. R. and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement,30, 607-610.
Lee C., Hallak R., Shruti R. and Sardeshmukh. (2016). Innovation, entrepreneurship, and restaurant performance: A higher-order structural model. Tourism Management. 53, 215-228.
Nieves J. and Haller S. (2014). Building dynamic capabilities through knowledge resources. Tourism Management, 40, 224-232.
Prahalad K.C. and Hamel G. (1990). The core competence of the corporation. Harvard Business Review, May-June, 79-90.
Rhodes J., Hung R., Lok P., Ya-Hui Lien B. and Wu C. M. (2008). Factors influencing organizational knowledge transfer: implication for corporate performance. Journal of Knowledge Management, 12(3), 84-100.
Schilling M. A. (2008). Strategic Management of Technological Innovation. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Schumpeter J. (1934). The Theory of Economic Development. Cambridge; Harvard University Press.
Sherman D.J., Berkowitz D., and Souder E.W. (2005). New Product Development Performance and the Interaction of Cross-Functional Integration and Knowledge Management. Journal of Product Innovation Management, 22, 399–411.
Sulistyo H. & Siyamtinah. (2016). Innovation capability of SMEs through entrepreneurship, marketing capability, relational capital and empowerment. Asia Pacific Management Review. 21, pp.196- 203.
Tabachnick B.G. and Fidell L.S. (2007). Using multivariate statistics. Boston: Pearson/Allyn & Bacon.
Tidd J. et al. (2001). Managing Innovation. New Jersey. John Wiley & Sons.
Thornhill S. (2006). Knowledge, innovation and firm performance in high- and low-technology regimes. Journal of Business Venturing, 21, 687– 703.
Utterback, J.M. (1994). Radical innovation and corporate regeneration. Research Technology Management, 37(4), 10.