รูปแบบความเป็นพ่อแม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะและแนวทางการทำหน้าที่ของพ่อแม่ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความเป็นพ่อแม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อตรวจสอบและนำเสนอรูปแบบความเป็นพ่อแม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการสังเคราะห์รูปแบบความเป็นพ่อแม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า ผลการวิจัยในวัตถุประสงค์นี้ ประกอบด้วย ตัวแปรภายนอกแฝง 1 ตัวแปร คือ ปัจจัยภายนอก ตัวแปรภายในแฝง 3 ตัวแปร คือ 1. หลักพรหมวิหาร 4 2. หลักอิทธิบาท 4 และ 3. คุณภาพความเป็นพ่อแม่ โดยมีหลักธรรมจากหลักพรหมวิหาร 4 และหลักอิทธิบาท 4 ทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านในโมเดล 2) เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมจากการตรวจสอบและนำเสนอรูปแบบความเป็นพ่อแม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า หลักพรหมวิหาร 4 ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยภายนอก โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลักอิทธิบาท 4 ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยภายนอกและหลักพรหมวิหาร 4 โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .59 และ .26 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2559). จิตวิทยาบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์. (2554). การศึกษาและพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวอย่างประสบความสำเร็จด้วยการให้คำปรึกษาครอบครัวโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2551). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดพุทธศาสนาและทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2557). ความรู้สำหรับพ่อแม่มือใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วัฐวดี บัวเกษ. (2550). การศึกษาวิธีการที่ครูใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยบางประการในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัณเพ็ญ บุญประกอบ. (2543). ความรักความผูกพันของครอบครัวในยุค 2000. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 45(1), 6-11.
Catherine et al. (2012). The Psychology Book. London: Dorling Kindersley.
Skinner, B.F. (1974). About Behaviorism. New York: Alford A Kuapt F.
Seginer, R. (2006). Parents’ Educational Involvement: A Developmental Ecological Perspective. Parenting: Science and Practice, 6(1), 14-48.