ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สุปวีณ์ ชมภูนุช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรียนด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์
2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรียนด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรียนด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรียนด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2562 โรงเรียนหันคาพิทยาคม จำนวน 29 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถใน การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.16 – 0.76 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.89 และ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.51 และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.29 – 0.36 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.30
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์มีคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์มีคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์มีคะแนนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์ มีความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

Article Details

How to Cite
ชมภูนุช ส. (2020). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์ อาร์ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 355–370. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/240244
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จิราพร หนูลาย. (2550). ผลการใช้วิธีสอนแบบ เอส คิว สี่ อาร์ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้วที่ 10). กรุงเทพฯ:เฮ้าท์ ออฟ เคอร์มีสท์.

มณีรัตน สุกโชติรัตน. (2548). อ่านเป็นเรียนก่อนสอนเก่ง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วิสาข จัติวัตร. (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ (Teaching English reading comprehension).กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้:เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.