รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง สถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 142 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มี 9 องค์ประกอบหลัก 59 องค์ประกอบ
3) ผลการตรวจสอบรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.93, σ = 0.31) และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.93 σ =0.32)
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
เกสรี ลัดเลีย. (2557). การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สุทธิปริทัศน์, 28(88), 57-89.
จิรภัทร มหาวงค์, วิทยา จันทร์ศิลา และ ทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.
จีระพงษ์ หอมสุวรรณ และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 34-42.
นพปฏล บุญพงษ์, พรเทพ รู้แผน และปฤษณา ชนะวรรษ. (2560). การนำเสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 19(1), 14-20.
น้ำฝน กันมา. (2560). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษา พะเยาโมเดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 103-115.
พัชรินทร์ จันทาพูน และ ปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารครุศาสตร์, 42(1), 81-94.
พิสิฐ เทพไกรวัลย์. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
เพิ่มศักดิ์ บัวรักษ์, ช่อเพชร เบ้าเงิน และสมชัย ชวลิตธาดา. (2559). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ ด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 13(24), 14-21.
วิโรจน์ ผลแย้ม และศักดา สถาพรวจนา. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1), 171-184.
สมศักดิ์ เอี่ยมดี และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 216-224.
เสมอ สุวรรณโค, ธีรวุฒิ เอกะกุล และสมคิด สร้อยน้ำ. (2558). รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มศว, 16(2), 138-137.
ศักดิ์นิพน สว่างวงศ์. (2557). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารบริหาร การศึกษาบัวบัณฑิต, 14(2), 12-24.