การศึกษาสภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

ถนอมขวัญ ทองโปร่ง
กาญจนา สิ่งประสงค์
คณิศร ธีระวิทย์
พัชรินันท์ ยังทรัพย์อนันต์
ภิฑชญา สุนทรกลัมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเห็นของอาจารย์ต่อสภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม) 2) เพื่อกำหนดแนวนโยบายการส่งเสริมอาจารย์ผู้สอนพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือโดยการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)  ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability)  0.821 โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมีความเป็นตัวแทนของประชากรโดยแบ่งเป็นชาย 47 คน หญิง 45 คน จำนวน 92 คน ด้วยเป็นโรงเรียนสาธิตวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้สอนโดยมากจึงสูงกว่าปริญญาตรีมีจำนวน 74 คน และปริญญาตรีที่กำลังศึกษาปริญญาโทจำนวน 18 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลวิจัยพบว่า 1) อาจารย์ผู้สอน ใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยไม่ยึดติดกับวิธีการจัดการสอนแบบเดิม (ร้อยละ 96.7) และ พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสม่ำเสมอ (ร้อยละ 79.4) แต่การเข้าร่วมอบรมการจัดการเรียนการสอน  ด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 45.8) มีส่วนสำคัญน้อยในการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 2) เมื่อเปรียบเทียบความเห็นจำแนกตามเพศของอาจารย์ผู้สอน พบภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พิจารณาตามรายการพบการยอมรับและเห็นด้วยกับการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และวางแผนการสอนโดยใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับบทเรียน นั้นมีความเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) หากจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พิจารณาตามรายการพบการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอและอย่างต่อเนื่องและการเข้าร่วมอบรมการจัดการเรียนการสอนด้านนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอด้วยความต่อเนื่องมีความเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ทองโปร่ง ถ., สิ่งประสงค์ ก. ., ธีระวิทย์ ค. ., ยังทรัพย์อนันต์ พ. ., & สุนทรกลัมพ์ ภ. . (2020). การศึกษาสภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม). วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 124–139. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/240045
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ นาตัน และ นพดล เจนอักษร. (2556). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ และ อนุศักดิ์ ตั้งปณิธานวัฒน์. (2552). การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2562. จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1076-file.pdf.

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). การพัฒนานวัตกรรมการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานรายวิชา 468 310 เทคนิคการนำเสนอและการจัดนิทรรศการ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1), 679-693.

แรกขวัญ นามสว่าง, ธีวุฒิ เอกะกุล และ ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านในระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2-3. วารสารวิชาการการศึกษา, 16(1), 124-135.

ฤทธิไกร ไชยงาม, กันยารัตน์ ไวคำ, หทัย ไชยงาม. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนภาษาอังกฤษของชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 7-17.

ศรีน้อย ลาวัง. (2552). การวิเคราะห์กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของครูโดยใช้เทคนิคการสืบสอบแบบชื่นชม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุธรรม สิขาจารย์. (2561). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำและการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ตรัง.

อมรรัตน์ เหล็กกล้า. (2555). สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูล และ จอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 78-89.