การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม

Main Article Content

รุ่งนภา บริพนธ์มงคล
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การรับรู้คุณภาพสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม 2) คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ทฤษฎีการรับรู้คุณภาพสินค้า ทฤษฎีคุณภาพการบริการ SERVQUALและทฤษฎี Customer Retention Model ประชากร คือ ลูกค้าของบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2,785 ราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 ตัวอย่าง ซึ่งใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า


  1. การรับรู้คุณภาพสินค้าด้านสินค้ามีความน่าเชื่อถือและด้านการทำงานของสินค้า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม ในขณะที่ด้านรูปลักษณ์สินค้ามีลักษณะที่ดี ด้านสินค้ามีความคงทน ด้านความลงตัวและประณีตไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ

  2. ปัจจัยคุณภาพการบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเข้าอกเข้าใจและด้านการตอบสนอง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม ในขณะที่ด้านความเชื่อถือได้และด้านการให้ความมั่นใจไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

              ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้คุณภาพสินค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของลูกค้าและช่วยเพิ่มยอดขาย ในขณะที่คุณภาพการบริการที่ดีส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำช่วยให้ลูกค้าไม่เปลี่ยนไปใช้บริการผู้ประกอบการรายอื่น

Article Details

How to Cite
บริพนธ์มงคล ร., & เชียรวัฒนสุข ก. . (2020). การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 166–179. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/239925
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/summary_report/industryeconomics situationreportapr2019.pdf

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และ สมพล ทุ่งหว้า. (2562). บริการซ้ำของผู้ให้บริการขนส่ง. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(2), 92-106.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และ สุรพร อ่อนพุทธา. (2560). การจำแนกกลุ่มลูกค้าที่คำนึงถึงราคาและคำนึงถึงคุณภาพก่อนตัดสินใจซื้อโดยการใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps). วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 4(2), 70-87.

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). สัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์สามลดา.

เกตุวดี สมบรูณ์ทวี, คมกริช ศรีไพรงาม และ ลลิตภัทร สร้างถิ่น. (2018). ปัจจัยด้านคุณภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น. WMS Journal of Management Walailak University, 7(1). 1-8.

ปัทมา ว่าพฒันวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกลุ. (2549), ประชากรไทยในอนาคต. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นลินี ทองประเสริฐ, อัยรดา พรเจริญ และ อโณทัย หาระสาร. (2561). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า กรณีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 13(1), 79-80.

นัยเนตร พันธสำราญสุข และ สุดาพร กุณฑลบุตร. (2017). การรับรู้คุณภาพของรถยนต์นำเข้าจากประเทศจีนที่มีผลต่อความสนใจซื้อของผู้บริโภค. Eau Heritage, 7(2), 50-51.

สุภัตรา แปงการิยา และ สุมาลี สว่าง. (2561). ปัจจัยการรับรู้คุณค่าที่ลูกค้าได้รับและปัจจัยคุณภาพความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อ ความภักดีของลูกค้าร้านขายยาในประเทศไทย. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 14(1). 20.

อภิษฎา ดินม่วง และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). E-CRM: การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในยุคสังคมดิจิทัลของธุรกิจศัลยกรรมความงาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 8(3), 20-30.

Aaker, D.A. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research, 34, 347-355.

Ibzan, E., Balarabe, F. and Jakada, B. (2016). Consumer Satisfaction and Repurchase Intentions. Developing Country Studies, 6(2), 96-98.

Kotler, P., Armstrong, G., S. H. Ang., Tan, C. T., Yau, M. & Leong, S.M. (2017). Products Quality. Malaysia: Pearson Education.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). US: Pearson Education.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. and Berry, L.L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The free press.

Peyrot, M., & Doren, D. (1994). Effect of a Class Action Suit on Consumer Repurchase Intentions. Journal of Consumer Affairs, 39, 361–379.

Prasetya, Y. E. & Sianturi, J. (2019). Customer Repurchase Intention in Service Business: A Case Study of Car Repair Service. Management and Entrepreneurship: Trends of Development, 2(8), 20.

Soon, W. L., Run, E. and Hong, N. M. (2014). Customer retention model – A case study of branded passenger car. Conference Paper, Conference: International Engineering and Management Conference 2012. pp. 1-9.

Wirtz, J. & Lovelock, C. (2018). Service Quality. Italy: Pearson Education.