ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนเมืองปานวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนเมืองปานวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตาม หลักไตรสิกขาเท่ากับ 17.37 คะแนน และ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียน การสอนสังคมศึกษาแบบปกติเท่ากับ 11.43 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบค่าที พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดวิจารญาณก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.37 คะแนน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.40 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบค่าที พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ WBI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2554). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาศเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
ธำรง บัวศรี. (2550). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนรัช.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. (2551). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ.
พลกฤช ตันติญานุกูล. (2547). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณทีมีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เพ็ญศรี นวลมาก. (2544). ผลของการฝึกอบรมโดยใช้หลักไตรสิกขาที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา การใช้เหตุผลและพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
เพ็ญศรี สร้อยเพชร. (2542). ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนทางไกล โดยการใช้การเรียนการสอนแบบเว็บเบสต์ ใน เอกสารประกอบการสอนวิชา 2710643 หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอุดมศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา กันตะกนิษฐ์. (2551). การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการสอนแบบไตรสิกขา. การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม.,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2556). คู่มือการคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สายัญ โพธิ์สุวรรณ์. (2548). การศึกษาตัวอย่างชิ้นงานและการนาเสนอแบบมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: สุวิรียาสาส์น