การสร้างสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย

Main Article Content

สมใจ สืบเสาะ
กุลกนิษฐ์ ทองเงา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย 2) เปรียบเทียบความรู้ในการป้องการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย 3) เปรียบเทียบทัศนคติการหยุดกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ปีการศึกษา 2564 กำหนดกลุ่มทดลองโดยการสุ่มอย่างง่าย เลือกแบบเจาะจงจำนวน 45 คน แบ่งทดลองรายบุคคลจำนวน 3 คน ทดลองกลุ่มย่อยจำนวน 12 คน ทดลองกลุ่มใหญ่ จำนวน 30 คน กำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรทาโร ยามาเน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายประเมินความพึงพอใจต่อการรับรู้สื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิก เครื่องมือวิจัยมี 4 ชนิด วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทยมีคุณภาพความเหมาะสมระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันการถูกกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์หลังการรับรู้สูงกว่าก่อนการรับรู้สื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิก 3) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทัศนคติในการหยุดการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย หลังการรับรู้สูงกว่าก่อนการรับรู้สื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิก 4) ความพึงพอใจต่อสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้น ภาพรวมอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สืบเสาะ ส., & ทองเงา ก. (2022). การสร้างสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1555–1569. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/257764
บท
บทความวิจัย

References

Inthanon, S., & Sermsinsari, P. (2018). The Study of How Youth Can Protect Themselves From Cyberbullying. In Conference paper the 2nd UTCC Academic Day, June 8 (pp.1396-1406). University of the Thai Chamber of Commerce. https://scholar.utcc.ac.th/handle /6626976254/3886

Kamminsek, C. (2010). Media awareness of the "Quit Line 1600 - Line for Smoking Quit" campaign and opinions of military officials in the Royal Thai Armed Forces Headquarters[Master's Thesis, Dhurakij Pundit University].

Ketwongsa, P., & Chuanwan, S. (2014). Who's Who in Social Networking: Diversity, Characteristics and Behavior. Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Kongsaksrisakul, K. (2018). UNESCO research suggests that 1 in 3 children worldwide who are bullied may affect their learning. https://thestandard.co/one-third-of-teens-worldwide-suffers-bullying-unesco

Kongsamak, A. (2018). Comparison of Poster Media for Anti-animal Cruelty Campaign Between Positive and Negative Persuasions[Master’s Thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3009/1/RMUTT-154622.pdf

Office of the Royal Thai Council. (2019). Cyber Bullying. https://free.facebook.com/RatchabanditThai/photos/cyber-bully

Robert, Jr. W.B. (2008). Working with parent of bully and victims. Corwin Press.

Sumutachak, B., & Satararuji, K. (2015). Conflict and Quarreling in Social Media during Adolesence. In The 11th National Academic Conference "Population and Society 2015". https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/447-IPSR-Conference-A01-fulltext.pdf

Surat, P. (2018). Cyber Bullying in Socio-Cultural Dimensions: Case Study of Generation Z among Thai Youths[Doctoral Dissertation, Srinakharinwirot University]. http://bsris.swu.ac.th/thesis/55199120019RB8992555f.pdf

Tedsana, J. (2013). Infographics. http://www.krujongrak.com/infographics/infographics_information.pdf.

Wang, K. (2012). Infographic & Data Visualizations Mobile Handset Manufacturers Design Media Publishing Limited.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.