มังกรผงาด : ว่าด้วยการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศโดย รถยนต์ในลุ่มน้ำโขงตอนบน / China’s Rise: A Case Study of International Travelling by Automobile in the Upper Mekong Area

ผู้แต่ง

  • ณัฐกร วิทิตานนท์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้เป็นผลจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่ได้ร่วม
เดินทางไปบนเส้นทาง R3A และ R3B ระหว่างปี 2551-2557 รวม 5 ครั้ง
โดยพยายามชี้ให้เห็นอิทธิพลของจีนที่ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวโดย
รถยนต์ระหว่าง 4 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว และจีน ยังติดขัดข้อจำากัด
บางประการ

ผลการศึกษาพบว่า เส้นทาง R3B ต้องเผชิญกับปัญหาหลาย
เรื่อง ไม่ว่าคุณภาพถนนที่แย่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูง เส้นทางที่ไม่
สามารถทะลุเข้าไปถึงเชียงรุ่งได้ เนื่องด้วยจีนไว้วางใจลาวมากกว่าพม่า จึง
ให้ความสำาคัญต่อเส้นทาง R3A ซึ่งยังคงประสบปัญหาขาดความเชื่อมต่อ
ที่มีเอกภาพ เพราะแต่ละประเทศต่างก็ถือกฎเกณฑ์ของตน เช่นเรื่องของ
การนำารถเข้า-ออกประเทศ

กรณีดังกล่าวเป็นอีกรูปธรรมหนึ่งของปรากฏการณ์ที่มีนักวิชาการ
เรียกว่า “ความสัมพันธ์แบบอสมมาตร” (asymmetry) ระหว่างจีนกับ
ประเทศต่าง ๆ ทำาให้รัฐบาลของประเทศเหล่านี้มีความเกรงใจจีนเป็น
พิเศษ ประเมินจากเรื่องนี้แล้ว ในกรณีของไทยนั้นเสียเปรียบทุกประเทศ
มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ ‘สถานะ’ ของแต่ละประเทศ และ ‘สถานการณ์’
ในแต่ละห้วงเวลา โดยเฉพาะต่อจีนที่มีบทบาทนำาในการกำาหนดทิศทาง
ความเป็นไปในอนุภูมิภาคลุ่มนำ้าโขงตอนบน

บทความเรื่องนี้ปรับปรุงจากเนื้อหาส่วนหนึ่งในการอภิปรายของผู้เขียนเองในหัวข้อย่อย “การเมืองเรื่องสุนทรียภาพในรัฐฉานตะวันออก: การเชื่อมโยง เรื่องศิลปกรรม ชาติพันธุ์ และการท่องเที่ยวในกลุ่มประชาคมอาเซียน” ส่วนหนึ่งในการสัมมนาวิชาการประจำาปี 2557 ของมูลนิธิโครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ “ไทย-พม่าศึกษา: ในกรอบประชาคมอาเซียน” ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

This article is the result of the direct experience of the
researcher who traveled along the R3A and R3B during 2008-
2014 for five times. The purpose of this article is to perform
the political factor relating to the struggles of the international
travelling by automobile among four countries: Thailand,
Myanmar, Laos, and China.


The result of this research found that the R3B encounters
with many obstacles whether the bad roads are in condition
with high travel expenditure, and not accessible road to
Jinghong. While the R3A confronts with the absence of road
linkages because of the regulations, taking vehicles in-out the
four countries.


This is one of the phenomena that scholar describes as “asymmetry relationship” between china and other
countries which leads to contemplative decision making of
other countries. Judging from this factor, Thailand has been
subservient depending on the ‘status’ of each country and the
‘situation’ in each period of time, especially when China has
the leading role in upper GMS.



Author Biography

ณัฐกร วิทิตานนท์

อาจารย์สำานักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-27