ความไม่เท่าเทียมในการกำาหนดทิศทางการพัฒนาระหว่าง รัฐส่วนกลางและท้องถิ่นเมืองชายแดน : กรณีศึกษาอำาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย / Uneven Development Between State and Borderland: a case study of Chiang Khong District, Chiang Rai Province

ผู้แต่ง

  • ปฐมพงศ์ มโนหาญ

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้คือความพยายามอธิบายความไม่สมมาตรของ
อำานาจในการกำาหนดแนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดน
ในยุคที่การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยมีรัฐและทุน
พยายามเป็นผู้แสดงหลักในการควบคุมกิจกรรมข้ามแดน ไม่ว่าจะเป็นการ
ค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยวเป็นต้น
ถึงแม้ว่าโลกหลังสงครามเย็นตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
ได้มีความเคลื่อนไหวของระเบียบโลกจนทำาให้เส้นพรมแดนมีความไม่
ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามหากเชื่อว่าเราอยู่ในยุคสมัยของลัทธิเสรีนิยมใหม่
ที่รัฐและทุนใช้ความ “เสรี” เป็นฉลากบังหน้าเพื่อที่จะควบคุมกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจ ท้องถิ่นชายแดนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความพยายามควบคุม
ดังกล่าวได้ ซึ่งในบทความนี้ได้ใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากงานวิจัยภาคสนาม
พื้นที่ชายแดนเชียงของ เป็นตัวแทนอธิบายถึงสถานการณ์ที่รัฐพยายามจะ
ควบคุมกิจกรรมข้ามแดนโดยการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4
จนเกิดเหตุการณ์ประท้วงและยื่นหนังสือเรียกร้องถึงนายอำาเภอเชียงของ
ให้มีการเปิดจุดผ่านแดนในเขตพื้นที่เดิมของเชียงของ แต่กลับไม่เป็นผล
ด้วยความสลับซับซ้อนของอำานาจในการจัดการท้องถิ่นที่มีลักษณะข้าม
เขตแดน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าท้องถิ่นที่ประกอบไปด้วยประชาชนตัวเล็กตัว
น้อย ภาคประชาสังคมที่เคยเคลื่อนไหวในประเด็นการเมืองอื่นๆ และกลุ่ม
การเมืองท้องถิ่นทั้งหมดกลับไร้อำานาจที่จะต่อรองกับการขยับตัวของรัฐ
และทุนได้


This article attempts to explain power imbalances
in the development of cross-border economies in the ASEAN
Economic Community through state and industry attempts to
control cross-border business, trade, investment and tourism.
Following the end of the cold war and as a result of
changes in world power, cross-border zones were not clearly
demarcated. Neo-liberalism underwrote attempts to use the
state and capitalism to gain economic control in the name
of freedom and cross-border business was not exempted
from that control. The article examines data gathered from
fieldwork conducted in the border areas of Chiang Kong and
tries to explain a situation in which the state asserted its
rights over cross-border business by opening the 4th Thai-Lao
friendship bridge. As a result of this intervention, protests
occurred and complaints were made to the district head
to open the former border check point in the area of
Chiang Kong. The request was denied due to the complexity of
dealing with the cross-border area and this shows the lack of
power of the local government when negotiating on behalf of
local communities with the state and corporate powers.

Author Biography

ปฐมพงศ์ มโนหาญ

อาจารย์ประจำาสำานักวิชานวัตกรรมสังคม สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
นักวิจัยประจำาสำานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (OBELS) และ
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Ab-SIRC) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-27