กลยุทธ์การต่อรองของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภายใต้ระบบ อุตสาหกรรมเกษตรอาหาร และการเป็นแรงงานไร้ที่ดิน กรณีศึกษา หมู่บ้านทรายมูลพัฒนา ตำาบลเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง / The Strategy of Agriculturist at Pineapple Grow in Agro-Industry System and Landless Labor : A Case Study of Saymoon Pattana, Sadet district, Lampang province

ผู้แต่ง

  • กิ่งแก้ว ทิศตึง Lampang Rajabhat University

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ตั้งตำาถามใน 2 ประเด็นคือ แรงงานไร้ที่ดิน และต้องการที่ดินเพิ่มใน
การผลิตพืชไร่มียุทธวิธีในการดำาเนินชีวิตอย่างไร ภายใต้การผลิตในระบบทุนนิยม และ ชุมชน
เกษตรกรที่มีการผลิตที่เข้มข้นเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมมีรูปแบบการจัดการที่ดินทำากิน
อย่างไรในบริบทของการผลิตเพื่อขายและมีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษากลยุทธ์ในการดำาเนินชีวิต
ของแรงงานไร้ที่ดิน ภายใต้การผลิตในระบบทุนนิยมและศึกษารูปแบบจัดการที่ดินทำากินของ
เกษตรกรในบริบทของการผลิตเพื่อขาย


จากการวิจัยพบว่ากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในพื้นที่หมู่บ้านทรายมูลพัฒนา หมู่ที่
13 ตำาบลบ้านเสด็จ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง เป็นเกษตรกรที่ปลูกสับปะรดทั้งที่มีการถือ
ครองที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง และเช่าที่ดินของผู้อื่น หรือทั้งเช่าที่ดินและทำาการเกษตร
ในพื้นที่ของตน ทั้งผู้ที่ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในพื้นที่หมู่บ้าน
ทรายมูลพัฒนา โดยมีผู้ปลูกสับปะรดทั้งหมดจำานวน 51 ครัวเรือน

ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพปลูกสับปะรดในพื้นที่ดินของตนเอง
พบกับปัญหาราคาผลผลิตตกตำ่า ในทุกปีพวกเขามีวิธีการต่อรองกับราคาผลผลิตทางการตลาด
ที่ไม่มั่นคงโดยการออกไปเช่าที่ของชาวบ้านหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ใน
ราคาไร่ละ 200- 500 บาทต่อปี แต่ทั้งนี้จุดสำาคัญไม่ได้อยู่ที่ราคาในการเช่า แต่จุดสำาคัญอยู่ที่
พื้นที่ดังกล่าวบางแห่งเป็นพื้นที่ที่เริ่มปลูกพืชยืนต้น เช่น มะม่วง ลำาไย จึงทำาให้พื้นที่ดังกล่าว
เป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชเช่น สับปะรดที่มีความต้องการแสงมากได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังพบว่าการจัดการแรงงานในการปลูกสับปะรดยังเป็นไปในรูปแบบของ
การจัดการความรู้ที่เกี่ยวเนื่องไปกับระบบทุนทางสังคมคือเครือญาติในการบริหารจัดการ

แรงงานในบริบทที่ชาวสวนขาดแคลนแรงงานฉะนั้น แรงงานที่มีสถานะของการเป็นเครือญาติ
จึงมีความสำาคัญกับผู้ปลูกสับปะรดอย่างมาก นอกจากนี้ ความรู้ในการปลูกสับปะรดไม่ได้ถูก
จัดการและถ่ายทอดอยู่ในรูปแบบของการจดบันทึกอย่างเป็นทางการแต่พบว่า มีการถ่ายทอด
จากรุ่นสู่รุ่นในระบบฐานความรู้แบบครอบครัว

คําสําคัญ
แรงงานไร้ที่ดิน ,เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด, กลยุทธ์


This research focuses on two issues, landless labor and land
management, and has the objectives of (i) examining strategies used by
pineapple farmers to earn a living in the capitalist system and (ii) studying land
management under a system of agricultural production.
The findings show that the pineapple farmers in the area of Saymoon Pattana
can be divided into three groups: (i) landowners, (ii) tenant farmers and (iii)
landowners who also rent land. 51 households of pineapple farmers were
included in the study and the smooth cayenne variety of pineapple was the
variety most commonly grown in the area.
The findings also show that those who grow pineapples on their own
land cope with low crop prices by renting land from others at 200-500 baht
per rai per year to grow more pineapples and thus support their income. Since
the rented land is mostly used to grow perennial plants such as mangoes, and
longan, the land is also suitable for growing pineapples.
In terms of labor management, it was found that the pineapple farmers
rely on labour from the family (close or extended) when faced with shortages
of labour. Knowledge of pineapple farming is also passed on from generation to
another instead of being documented formally.

Keywords
Landless labor, farmers, strategy






Author Biography

กิ่งแก้ว ทิศตึง, Lampang Rajabhat University

อาจารย์ประจำา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำาปาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-27