ชุธาตุ: เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา ในสังคมล้านนายุคเปลี่ยนผ่าน / Chuthat: Economy, Politics, and Religion of Lanna Society in Transition
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา การก่อรูป และพัฒนาการของความเชื่อเรื่องชุธาตุในล้านนาผ่านบริบททางประวัติศาสตร์ของสังคมล้านนายุคเปลี่ยนผ่าน พบว่า ความเชื่อเรื่องชุธาตุได้รับอิทธิพลของความเชื่อที่ให้ความสำคัญกับเรื่องปีนักษัตรเกิดมาจากวัฒนธรรมสยามต้นรัตนโกสินทร์ ความเชื่อเรื่องชุธาตุในล้านนาจึงไม่น่าจะเก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 25 ความเชื่อเรื่องชุธาตุมีบทบาทในทางเศรษฐกิจของล้านนาที่ช่วยให้เกิดการค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ ทั้งภายในล้านนาและการค้าทางไกล และยังช่วยให้เกิดการขยายตัวของการทำนุบำรุงศาสนาด้วยกำลังของสามัญชนแทนที่การอุปถัมภ์โดยเจ้านายที่อำนาจลดลงด้วย ความเชื่อเรื่องชุธาตุที่พัฒนาไปสู่การทำภาพวาดสำหรับสักการบูชาประจำตัวยังสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชาวล้านนาไปสู่ความคิดและความเชื่อแบบปัจเจกชน ความคิดเรื่องชุธาตุที่เคยมีบทบาทที่สัมพันธ์กับชุมชนจึงค่อยๆ หมดความนิยมลงในล้านนาสมัยใหม่
article aims to investigate the formation and development of Chuthat belief in Lanna society in transitional period through historical context. It was found that Chuthat belief was influenced by 12-year cycle belief of Siamese in early Rattanakosin period. A precise date for the formation of the Chuthat belief cannot be given but it is unlikely to be existed before mid 19th century. The Chuthat belief play a role in Lanna economy as it supported both internal and international trade of Lanna. The practice of worshipping the pagoda picture related to Chuthat belief instead of pilgrimage in caravan reflected the change of people’s worldview to be more individualistic. This change made the Chuthat belief gradually declined in Lanna modern society.