กระบวนการสร้างอุดมการณ์รักชาติไทย ด้วยกลวิธีทางภาษาในนวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ ของวิมล ศิริไพบูลย์ / The Procedure to Construct Thai Nationalism Ideology by Linguistic Strategies in Wimol Siripaiboon’s Historical Novels
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างอุดมการณ์รักชาติไทยด้วยกลวิธีทางภาษาในนวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ของ วิมล
ศิริไพบูลย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ กระบวนการสร้างอุดมการณ์รักชาติไทยด้วยกลวิธีทางภาษาในนวนิยายของวิมล
ศิริไพบูลย์ จำนวน 6 เรื่อง คือ คู่กรรม ร่มฉัตร ทวิภพ อตีตา
กษัตริยา และอธิราชา โดยใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ของนอร์แมน แฟร์คลาฟ
ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ของ
วิมล ศิริไพบูลย์ มีการผลิตสร้างอุดมการณ์รักชาติไทย โดยการใช้คำ และการผูกประโยคแบบต่างๆ และกลวิธีทางวรรณศิลป์ ซึ่งปรากฏในข้อความบรรยาย หรือบทสนทนาของตัวละคร อุดมการณ์รักชาติไทยในนวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ของวิมล ศิริไพบูลย์ ประกอบไปด้วยการยกย่องความเป็นไทยด้วยการแสดงให้เห็นถึง “คุณค่าความเป็นไทย”
*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง อุดมการณ์รักชาติไทยในนวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ของวิมล ศิริไพบูลย์ ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พ.ศ. 2557
This research aims to analyze the construction of a Thai nationalist ideology in Wimol Siripaiboon’s six historical novels: Khukam, Romchat, Thawibhop, Atita, Kasatriya and Atiraja. This will be done through the use of Norman Fairclough’s conception of critical discourse analysis
The results show that the texts build nationalist ideologies through lexis and syntax in the novels' narration and dialogue. The nationalist ideologies are built through the praising of the values of the Thai nation and nationality and in portraying Thais as the victims of foreign aggression and so worthy of sympathy. In addition, the failures of historical leaders are defended and justified. This nationalist ideology is in accordance with major currents in Thai society, resulting in the novels' acceptance by the broader society.