มาตรการป้องกันความรุนแรง อย่างไม่เป็นทางการ : การมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงของแฟนบอลไทย / Measure of Informal Violence Prevention : Fan Participation in the Prevention of Violence in Thai Football

ผู้แต่ง

  • อาจินต์ ทองอยู่คง

บทคัดย่อ

บทความนี้เสนอว่า แม้ฟุตบอลไทยถูกมองว่ามีความรุนแรงเกิดขึ้นมากและแฟนบอลมักจะถูกกล่าวถึงในแง่ของการเป็นผู้ก่อความรุนแรง แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นแฟนบอลไทยก็สามารถมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงได้ผ่าน “มาตรการป้องกันความรุนแรงอย่างไม่เป็นทางการ” อันได้แก่ การกำหนด “ธรรมนูญแฟน” หรือระเบียบข้อปฏิบัติของแฟนบอล, บทบาทของผู้นำเชียร์ในการผ่อนคลายอารมณ์ของแฟนบอล, และกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ระหว่างแฟนบอลต่างสโมสร มาตรการดังกล่าวทำงานผ่านความสัมพันธ์ระหว่างแฟนบอล โดยมีการรวมตัวกันได้เป็นชุมชนแฟนเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งการที่แฟนบอลมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงนี้นับเป็นมาตรการป้องกันความรุนแรงในฟุตบอลที่เป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทย  

 *บทความนี้ปรับปรุงมาจากส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “แอลกอฮอล์ ความรุนแรง และมาตรการป้องกันในฟุตบอลไทย” โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

This article argues that, although Thai football leagues are permeated with violence and fans are often stigmatized as offenders, football fans could play a role reducing this violence through “measure of informal violence prevention”. For example, many fan groups have enacted “football fan’s code of conduct” to curb violent behavior. Chant-leaders can also play a constructive role in toning down violent emotions and increased contact between fan clubs could strengthen relationships. These informal measures operate through relationships between fans, so solidarity within fans' communities is an important factor in their success and the participation of fans generally is important in preventing football violence. 

Author Biography

อาจินต์ ทองอยู่คง

นักวิจัยอิสระ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-26