ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน ประจำปี พ.ศ. 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน ประชากร คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 - ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน จำนวน 2,360 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง จำนวน 342 คน ใช้แบบสอบถามและเก็บข้อมูลโดยใช้ Google form สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็น เพศหญิง 231 คน คิดเป็นร้อยละ 66 มีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี 312 คน คิดเป็นร้อยละ 89.14 กำลังศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ 143 คน คิดเป็นร้อยละ 40.86 และกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 48 ภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (= 3.16) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านนโยบาย (=3.17) นโยบายควรมีความน่าเชื่อถือและมีความชัดเจน มีประโยชน์ต่อนักศึกษาและสถาบัน ข้อเสนอแนะ ควรให้ความสำคัญกับวิธีการหาเสียง การประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้ง ใช้โซเชียลมีเดียในการหาเสียง ลงพื้นที่เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสนอให้มีการเลือกตั้งแบบออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กฤตยา มามีชัย (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, จาก https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=279&group=20&depid=3
เกรียงไกร รอบรู้ (2561). การเสริมสร้างแนวคิดประชาธิปไตยให้แก่นักศึกษาผ่านรูปแบบการเลือกตั้งประธานชั้นปีของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. Vol. 17, No. 2, July-December, 2018
จารุวัฒน์ ตาลป่าหว้าน (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. Journal of Organizational Management Excellence ISSN : 3027-7213 (Online) Vol. 1 No. 2 (March - April 2023)
จารุวรรณ กึกก้อง (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารจัดการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จอมพงศ์ มงคลวนิช (2554). การศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีสยาม.
ชมภู่ อ. ,พระเทพปริยัติเมธีและอบสิณ ส. (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่1จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(2), 323334. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2566, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/258706
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (2564). ประวัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2566, จาก https://th.ksu.ac.th/
_____________. ระเบียบมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ว่าด้วย กิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566 จาก
https://stde-ag.ksu.ac.th/manage/upload_file/nm7BO0k8Trn20190705110325.pdf
_____________. (2565). ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
_____________. (2560). สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
สุทธิพงษ์ สุทธิลักษมุนีกุล, พายุ นาวาคุระ (2564). บทบาทของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏุอุบลราชธานีในการตัดสินใจทางการเมืองแบบวิถีประชาธิปไตย: กรณีศึกษา การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี. มนุษย์สังคมสาร (มสส.). ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2564). น.3.
อรรญติมา มีเดชา, และชาญชัย จิตรเหล่าอาพร (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกผู้สมัครสภาผู้แทนราษฏรเป็น การทั่วไป พ.ศ. 2566 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสงขลา. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (มีนาคม - เมษายน 2567). น.11.
Dubrin, A.J. (1998).Leadership. Research Finding, Practice , and Skill. Boston : Houghton.
Thangjuong, Y. (2006). The democratic political culture of the student of Uttaradit Rajabhat University students. Uttaradit: Uttaradit Rajabhat University. [in Thai]
Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rded.). New York: Harper and Row.