การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บ้านนาบอน หมู่ที่ 11 ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นวมน นามลาพุทธา
สิรินดา กมลเขต
อธิพงษ์ ภูมีแสง

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา บ้านนาบอน ประชากร คือประชาชนที่อาศัยอยู่บ้านนาบอน หมู่ที่ 11 จำนวน 666 คน กลุ่มตัวอย่างใช้หลักของ ทาโร่ ย่ามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 250 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง 134 คน คิดเป็นร้อยละ 53.6 มีช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี 59 คน คิดเป็นร้อยละ 23.6 มีอาชีพเกษตรกร 50 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 59 คน คิดเป็นร้อยละ 23.6 ภาพรวมระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (equation = 4.71) พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในด้านการปฏิเสธ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (equation = 4.87) ด้านการหลีกเลี่ยง คิดเป็นค่าเฉลี่ย (equation = 4.84) ด้านการป้องกันตนเอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย  (equation= 4.66) และ ด้านภูมิคุ้มกัน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย (equation = 4.47) ปัญหาของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด คือด้านภูมิคุ้มกัน ข้อเสนอแนะผู้นำชุมชนและภาคส่วนอื่นๆ ควรมีการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังและคนในครอบครัวควรใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชีวะ หงษาชุม. (2566, กันยายน 17). สารวัตรกำนันตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย กรุงเทพฯ : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ, 2550 พิมพ์ครั้งที่ 10.

บุญจันทร์ จันทร์ทวิสา. (2566, กันยายน 10). กำนันตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

พระมหาฉัตรเพชร สมาจาโร. (2566).การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย ปีที่ 4 ฉบับ 1 (มกราคม -มิถุนายน (2566) น. 30-41.

วิษณุ หยกจินดา (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสาเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้าโขง. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566 จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/243674

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ 2566-2570). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ONCB_PLAN/Policyactionplan

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2564). ผลการปราบปรามยามเสพติดทั่วไประเทศ สำนักปราบยาเสพติด , 2564) รายงานประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566 จาก https://www.oncb.go.th/DocLib/

สิงห์ ปานะชา.(2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566) จาก https://readgur.com/

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association : California. April 19 – 23, 1976)0 [Online] Available : https://files.eric.ed.gov/fultlext/ED121845.pdf. Retrieved Feb 3, 2018.

Vroom, V. H., & Deci, E. L. (1970). Management and motivation. New York: Penguen Book.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rded.). New York: Harper and Row.