สุนทรียศาสตร์การท่องเที่ยวบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุนทรียศาสตร์การท่องเที่ยวบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใช้วิธีการศึกษาเอกสารและการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่เอกชน เพื่อการรวบรวมวัตถุทางวัฒนธรรมและเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว มีการนำเสนอข้อมูลทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น เฮือนไทดำ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย พยัญชนะไทดำ หัตถกรรมผ้าทอ ตุ้มนกคุ้มหนู และข้อมูลวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ พิธีกรรม การละเล่นผ่านการเล่าเรื่องจากผู้สื่อความหมาย มีลักษณะพื้นที่การท่องเที่ยวแบบมีชีวิต เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดประสบการณ์เชิงคุณค่าที่หลากหลาย เช่น การสร้างบรรยากาศให้กับพื้นที่ภาพรวม ส่วนการจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบมีชีวิตที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทางการรับรู้จากการทดลองปฏิบัติ การฟังคำบรรยาย การเดินสัมผัสและรับรู้ด้วยตนเองโดยการใช้ปัญญาญาณสัมผัสและการคิด แยกแยะและวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์การท่องเที่ยวที่แฝงอยู่ในพื้นที่บ้านพิพิธภัณฑ์ พบว่ามี 2 ส่วน คือ เนื้อหาและรูปแบบ ที่มาจากการจำลองพื้นที่แบบมีชีวิตและมีองค์ประกอบการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้แก่ วัตถุทางวัฒนธรรม ผู้คน สถาปัตยกรรม บรรยากาศ ช่วงเวลาเสียง การเคลื่อนไหว การบริหารจัดการ และการบริการที่ส่งผลต่อการมีประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กัญญภัสสร ชาติชัยประเสริฐ. (2553). สุนทรียศาสตร์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 50(3), 21-42.
จิตตรา มาคะผล. (2555). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(2), 114-129.
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี. (2556). การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(3), 205-216.
ติ๊ก แสนบุญ. (2564, กรกฎาคม 3). เอกลักษณ์ในที่พักของชาวไทดำ “เฮือนไทดำ” เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เวียดนาม. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_6000
ไทยโรจน์ พวงมณี และอิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2567). ผ้าซิ่นนางหาญ: ตำนานและอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิพิธพัฒนศิลป์, 4(1), 98-117.
พระมหาสุรชัยชยาภิวฑฺฒโน, นพดล อินปิง, และสิริกานดา คําแก้ว. (2563). เกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์: กรณีภาพวาดสิตางคุ์บัวทอง. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 3(1), 11-34.
เพชรตะบอง ไพศูนย์. (2567, มิถุนายน 15). เจ้าบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ. สัมภาษณ์.
มงคลรัตน์ มหมัดซอและ. (2553). การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์. ดำรงวิชาการ, 9(2), 67-80.
วนิษา ติคํา. (2553). การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงบูรณาการ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแหล่งเตาเมืองน่าน บ้านเตาไหแช่เลียง ตำบลสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. ดำรงวิชาการ, 9(2), 50-66.
วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์, เนธิมา สุวรรณวงศ์, ประเสริฐ ราชมณี และศศิพงศ์ วงศ์ษา. (2564). ศิลปะและดนตรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้อย. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 24(1), 86-99.
สุรดิษ ภาคสุชน. (2553). ดนตรีในพิธีกรรมแซปางของชาวไทดำ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 223-229.
Barretto, M. (2013). Aesthetics and Tourism. PASOS. Revista de Turismo y Patrimonio Cultural, 11(3), 79-81. https://riull.ull.es/xmlui/handle/915/14944
Ran, P. X. (2018). People Characteristics, Destination Scenery, Destination Image, and Tourist Experience Affecting Intention to Revisit Bangkok of Chinese People. Independent study In Education according to the Master of Business Administration Program, Bangkok University.
Yuhua, Z. (2023). Aesthetics of Zhuang Brocade Cultural Heritage: Activation and Inheritance of Zhuang Brocade Patterns and Innovative Design of Costumes. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for Doctor degree of Philosophy in Visual Arts and Design Faculty of Fine and Applied Arts Burapha University .
Zhou, W. Chen, L.Y & Chou, R. J. (2021). Important Factors Affecting Rural Tourists’ Aesthetic Experience: A Case Study of Zoumatang Village in Ningbo. Sustainability, 13(7594) 1-24. https://doi.org/10.3390/su13147594