บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อัจฉราพรรณ ลาภโพธิ์ชัย
ระพีพรรณ คำหอม
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2563 จำนวน 383 คน ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) การปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =3.73, S.D.=0.76) 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ =3.47, S.D.=1.04) 3) ความคิดเห็นต่อการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =3.58, S.D.=0.92)

Article Details

How to Cite
ลาภโพธิ์ชัย อ. ., คำหอม ร. ., & ลักขณาภิชนชัช ท. . (2024). บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 135–148. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.23
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2557). ยุทธศาสตร์การดำเนินงานเครือข่าย ทสม. ปี 2557-2560. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). ระเบียบกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้าน พ.ศ. 2558 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). ทสม. และเครือข่าย ทสม. ดีเด่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). หนังสือประกอบการประชุมเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์. (2560). การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ: สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.

ปริศนา โชคพิพัฒน์. (2551). การได้รับการสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรัชญา ศิริพงษ์อุทุมพร. (2557). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2551). ประชากรกับสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สัญชัย สูติพันธ์วิหาร และคณะ. (2553). แผนยุทธศาสตร์การเสริมศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของเครือข่าย อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) เพื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.