การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 386 คน ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า 1) การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.84,S.D.=0.610) เมื่อพิจารณารายด้าน พบด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( = 4.03,S.D.= 0.863) รองลงมาคือ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย (= 3.92,S.D.= 0.612) และด้านแผนพัฒนาหมู่บ้านและสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข (= 3.86,S.D.= 0.685) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ (= 3.74,S.D.= 0.778) 2) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ด้านเพศ และด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่าง ด้านกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 30-50 ปี แตกต่างกับกลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน ด้านการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน ด้านส่งเสริม เศรษฐกิจ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขไม่แตกต่างกับการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางส่งเสริมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน มีดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอบรมและพัฒนาบุคลากร คำปรึกษาในการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ และข้อบังคับจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจัดหากองทุนสนับสนุนในการประกอบอาชีพภายในหมู่บ้านแปรรูปสู่ตลาดสากล และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2557). คู่มือคณะกรรมการหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1) อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.
ณัฐวุฒิ ถุนนอก. (2555). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา: อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2548). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัฐติพร ศิริศรี และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(6), 42-50.
อภิชาติ เทพชมภู. (2553). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อภินันท์ ค้าเจริญ. (2559). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน ในเขตพื้นที่อำเภออู่ทองและอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Lamtal, R. (2014). The Government Role of Sub-District and Village Headman under LocalGovernment.
Yamane. (2008). Taro Statistic: An Introductory Analysis.New York: Harper & row. Journal of Bangkokthohbur iUniversity, 3(1), 34-41.