การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นัยนา สร้อยชมภู
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยหน่วยเลือกเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินชิ้นงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียน  อีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 90.00/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 0.63 หรือ ร้อยละ 63 ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้สูง และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สร้อยชมภู น. ., & ศิลปนิลมาลย์ อ. . (2024). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 24–34. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.15
บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20.

นาตยา ช่วยชูเชิด. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด โดยใช้โครงงาน เป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อ นวัตกรรม และ การศึกษาเชิง สร้างสรรค์ (E-Journal of Media Innovation and Creative Education), 1(1), 1-12.

บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). (2566). ทำความรู้จัก Data Sharing คืออะไร มีวิธีการทำงานอย่างไร สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2567 จาก https://www.dittothailand.com/dittonews/gov-what-is-data-sharing/

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ ฐิตวีร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2563). การเรียนการสอนแบบ E-Learning กับการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เป็นสื่อรูปแบบใหม่ทางด้านการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 17-32.

เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. (เอกสารประกอบการสอน). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริวัลภา ศรีเศรษฐมาตย์. (2566). สัมภาษณ์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566.

สิริญาณีย์ บุษมงคล และอัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2565). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การสร้างภาพหน้าปกช่องยูทูปจากโปรแกรม Canva ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ระหว่างการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-based learning) และผสมผสานกับกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (SSPC) สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ครั้งที่ 8). (หน้า 896-903) : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2558). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษาตามรูปแบบ ADDIE (พิมพ์ครั้งที่ 1).ขอนแก่น : โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ และคณะ. (2559). ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2), 61-69.

Yanakit, N., & Kaewsaiha, C. (2021). The Effects of Inquiry-Based Learning on Students’ Mathematics Achievement and Math Anxiety. STOU Education Journal, 14(1), 89-99.