การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การออกแบบและแก้ไขปัญหาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การออกแบบและแก้ไขปัญหาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีหน่วยเลือกเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96, SD = 0.21) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 90.00/ 80.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 0.61 หรือร้อยละ 61 แสดงถึงความก้าวหน้า ในการเรียนรู้สูง และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, SD = 0.50)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2531). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
นาตยา ช่วยชูเชิด. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด โดยใช้โครงงาน เป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อ นวัตกรรม และ การศึกษาเชิง สร้างสรรค์ (E-Journal of Media Innovation and Creative Education), 1(1), 1-12.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล (เอกสารประกอบการสอน). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ. (2564). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566 จากhttps://www.pidthong.org/th/philosophy.php
ศิริชัย นามบุรี. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 8 และงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 1 (หน้า 466-479): มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศิริวัลภา ศรีเศรษฐมาตย์. (2566). สัมภาษณ์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566.
อามัน วีรภัทรษฎากร, แวซากียะห์ วานิ, รูฮัยซา ดือราแม และโรสลีนา อนันตนุกูลวงศ์. (2565). การใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนการ์ตูนออนไลน์ใน Google Sites เรื่องแบบจำลองอะตอม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดยะลา ในช่วงสถานการณ์โควิด-19. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (หน้า 1124-1131): มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2558). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษาตามรูปแบบ ADDIE. (พิมพ์ครั้งที่ 1) ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ และคณะ. (2559). ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2), 61-69.
Yanakit, N., & Kaewsaiha, C. (2021). The Effects of Inquiry-Based Learning on Students’ Mathematics Achievement and Math Anxiety. STOU Education Journal, 14(1), 89-99.