การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อาชีพในยุคดิจิทัล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ลลิตา มะละกา
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อาชีพในยุคดิจิทัล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อาชีพในยุคดิจิทัล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.19, S.D. = 0.56) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 83.00/ 85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 0.73 หรือ ร้อยละ 73 โดยรวมอยู่ในระดับความก้าวหน้าในการเรียนรู้สูง และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.52, S.D. = 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร กิมุล และอัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2565). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การสร้างนิทาน โดยใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ครั้งที่ 8 (หน้า 819-826): มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20.

เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. (เอกสารประกอบการสอน). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วริศรา กลมทุกสิ่ง และชวินท์ ธัมมนันท์กุล. (2564). แพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์: อาชีพเกิดใหม่ในยุคดิจิทัล. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 379-387.

วิเชษฐ์ นันทะศรี และ อัจฉรา นันทะศรี. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย., 34(1), 98-110.

ศิริชัย นามบุรี. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 8 และงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 1 (หน้า 466-479): มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศิริวัลภา ศรีเศรษฐมาตย์. (2566). สัมภาษณ์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566.

ศุภกิตติ์ ทันบุญ และ อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2564). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(SSPC). ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ครั้งที่ 7 (หน้า 436-444) : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อนุชา สะเล็ม. (2560). การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรี กรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก http://203.188.27.107/thesis/Thesis_2560/%28IT%29%20การประยุกต์ใช้%20E-Learning%20ในกระบวนการเรียนการสอน.pdf

อภิวัฒน์ ศรีวรรณ์. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามกิจกรรมการส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2558). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษาตามรูปแบบ ADDIE (พิมพ์ครั้งที่ 1).ขอนแก่น : โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ และคณะ. (2559). ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2), 61-69.

Koul, L. (1984). Methodology of Educational Research. New Delhi : Vani Education Book.