การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการรับรู้ตนเองทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน

Main Article Content

อนุพงศ์ สิงห์อำ
ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว
ภูชิต ภูชำนิ

บทคัดย่อ

การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ตนเอง ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 143 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่องสถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 50 นาที 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 15 ข้อ และ 3) แบบทดสอบแบบวัดการรับรู้ตนเอง ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบทดสอบอัตนัย 15 ข้อ วิเคราะห์แบบทดสอบโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test Dependent Sample Group) การวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.24/75.87 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3) ความสามารถในการรับรู้ตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับกระบวนการ 5Es ภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 73.61 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการแก้ปัญหาพื้นฐานสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.98 รองลงมาคือ ด้านการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 76.46 และด้านการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน คิดเป็นร้อยละ 66.08 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สิงห์อำ อ. ., สังข์ศรีแก้ว ป. ., & ภูชำนิ ภ. . (2024). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการรับรู้ตนเองทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 48–59. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.17
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษฎา แก้วสิงห์. (2551). การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 การวัดและประเมินควบคู่กับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นการศึกษานครราชสีมาเขต 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.

จริญญา สมุทรเขต และ ยุทธพงศ์ ทิพย์ชาติ (2565). ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ ความตระหนักในการคิดกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทนงเกียรติ พลไชยา. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเมตาคอกนิชันความเข้าใจมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชัน ของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยวิทยานิพนธ์ ศศ.ด.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มันทนา ปิดตาระโพธิ์ (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. โรงเรียนแหลมรังสีวิทยาคม จังหวัดพิจิตร

วาสนา ประภาษี (2560.) การศึกษาการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วรัญญา เธียรเงิน, (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAR ร่วมกับเกมการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สี (การวิจัยและประเมิน), สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทักษิณ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

สิรจิตต์ เดชอมรชัย และ ชนยา ด่านสวัสดิ (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นโดยใช้วงจรสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระบบ ออนไลน์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภาวดี คำนาดี. (2551). การวิจัยและพัฒนากระบวนการกำกับตนเอง สำหรับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ

อโณทัย สวายประโคน และจิตราภรณ์ บุญถนอม (2564.) อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนผ่านระบบออนไลน์. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. Page 22. New York: W.H. Freeman.

Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of Education Objectives. New York: David Mckay.

Dienes, Z. P. and E. W. Golding. (1971). Approach to Modern Mathematics. New York: Herderand Herder

Flavell, J. H. (1993). Young children's understanding of thinking and consciousness CurrentDirections in Psychological Science, 2(2), 40–43. https://doi.org/10.1111/1467-8721.ep10770682

Schunk, D. H. (1985). Learning theories: Aneducationalperspective (6thed.). Harlow: Pearson.

Underhill, R.G. (1991). Two layers of constructivist curricular interaction. In E. von Glasersfeld(Ed.), Radical Constructivism in Mathematics Education Dordrecht. The Netherlands: Kluwer Academic. p. 229-248