การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์

Main Article Content

ยลดา ปะสาวะเท
ปวีณา ขันธ์ศิลา
สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” จำนวน 36 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ปะสาวะเท ย., ขันธ์ศิลา ป. ., & เทียนยุทธกุล ส. . (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(2), 24–34. https://doi.org/10.14456/hsi.2023.11
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา สนรัมย์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขาทะลุพิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

งานวัดและประเมินผล โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา "กรป.กลางอุปถัมภ์". (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. กลุ่มงานบริหารวิชาการ, โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา "กรป.กลางอุปถัมภ์".

มนัสวี อุตรภาศ, และจุฑาพร รัตนมุสิก. (2562, ธันวาคม). โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมวิชาการวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้, นครศรีธรรมราช.

ยุพิน พิพิธกุล. (2554). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการมัธยมศึกษาคณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). พัฒนาการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703, มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (อัดสำเนา).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สุพรรษา ภูมิดี, กอบกาญจน์ ศิริกุล, อิสราภรณ์ ทองสมนึก, และปิยวัฒน์ เนียมมาลัย. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบจิกซอว์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อัตราส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (น.1251-1261). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สูไวบ๊ะ สุวรรณกาพฤกษ์, เอมอร สิทธิรักษ์, และจุติพร อัศวโสวรรณ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(72), 105-111.

อรญา เติมโพก, และปุณยพล จันทร์ฝอย. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนานโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย. วารสารวิชาการครุศาสตร์ สวนสุนันทา, 4(2), 34-39.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitde Scale. New York: Wiley & Son.

Slavin, R. E. (1986). Cooperative leadning: Throry, research, and prectice. Boston: Allyn & Bacon.