การศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหินเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการนำแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหินไปใช้จัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และผู้รับผิดชอบงานหลักสูตรของโรงเรียน ผู้มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน และอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา รวมจำนวน 25 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน ที่สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาและแนวทางในการนำแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหินไปใช้จัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน ที่สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของโรงเรียนวังไกลกังวลในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ 1) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาในอำเภอหัวหิน 2) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของอำเภอหัวหิน 3) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตในอำเภอหัวหิน 4) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในอำเภอหัวหิน 5) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีในอำเภอหัวหิน 6) แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิศาสตร์ในอำเภอหัวหิน 2. แนวทางในการนำแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหินไปใช้จัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของโรงเรียนวังไกลกังวลในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบไปด้วย 2 แนวทางดังต่อไปนี้ คือ 1) จัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สอดแทรกแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน 2) การบูรณาการในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาของแต่ละระดับชั้น โดยการให้ผู้รู้ในท้องถิ่นมาให้ความรู้กับนักเรียนและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน โดยใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบ Active learning และสถานที่จริง ลงมือปฏิบัติจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2557). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). การศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.วารสารครุพิบูล, 5(1).
ทวิช ลักษณ์สง่า. (2556). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
นภาพร จันทร์ฉาย และอัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากฐานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรณีศึกษา เมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1)
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2556). การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในมุมมองนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่น.วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1)
วิชัย วงศ์สุวรรณ และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรรายวิชาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5
วิภาพรรณ พินลาและวิภาดา พินลา. (2564). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
วิวรรธน์ ศรีวีระชัย. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา
ศศิพัชร จำปา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์. วารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร Veridian E-Journal, Silpakorn University,9
สถาบันสังคมศึกษาสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
สมประสงค์ น่วมบุญลือ. (2564). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องอุดมคติในสังคมศึกษา เป้าหมายสุดท้าย วิธีการ สาระ และคุณค่า. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สิริวรรณ ศรีพหล. (2553). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สิริวรรณ สิรวณิชย์. (2565). แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์.พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
สำราญ ผลดีและคณะ. (2564). การสำรวจและจัดทาฐานข้อมูลท้องถิ่นเรื่องสมุทรสงคราม เมือง 3 น้ำ. ศิลปะศาสตร์ปริทัศน์ 16(2)
อังคณา จัตตามาศ และ อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์. (2565). การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศสำหรับบริการข้อมูลสารสนเทศชุมชนของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 23(1)
อนิรุทธ์ สติมั่น. (2557). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร