การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับบัตรคำศัพท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์ โดยใช้การวิจัยเอกสาร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์ ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล TDC (Thai Digital Collection) ระหว่างปี 2562-2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า จากการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์ในภาพรวมทั้งหมดมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการจัดกลุ่ม (Grouping stage) หมายถึง จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง กลาง อ่อน) เพื่อเรียนรู้หัวข้อตามบัตรคำศัพท์เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 2) ขั้นการแสวงหาความรู้ (Knowledge-seeking stage) หมายถึง ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระตามหัวข้อบัตรคำศัพท์ และร่วมกันอภิปราย ซักถาม และทำกิจกรรมร่วมกัน 3) ขั้นการสรุป (Conclusion stage) หมายถึง นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแยกตัวกลับไปกลุ่มเดิมของตนแล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้ศึกษาจากบัตรคำศัพท์ให้เพื่อนฟัง 4) ขั้นการประเมิน (Assessment stage) หมายถึง การทดสอบความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในช่วงสุดท้ายของการเรียนที่สามารถบ่งชัดได้ว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ในบทความนี้ได้นำเสนอข้อมูลสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์โดยสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับบัตรคำศัพท์ ซึ่งจะได้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีขั้นตอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้นักวิชาการและผู้สนใจสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาวิชาชีพได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
กนกพิมาน ปานกลาง และอภิชยา ประดับนาค. (2563). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(เทคนิคจิ๊กซอว์) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 5(1), 38-44.
กาญจนา ไกลถิ่น. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง). สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฤดี เชยเดช. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย โดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนัญญา เอมบำรุง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิครีเวิร์สซอว์ร่วมกับผังกราฟฟิก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิติการต์ ศรีโมรา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคำศัพท์. วารสารการศึกษามหาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 102-109.
ปรัศนียพร ภูมิสุวรรณ และคณะ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษในวิชาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(1), 303-316.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562) การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.
สุภัชญา สวัสดิ์โยธิน. (2564). การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีนโดยใช้บัตรคำศัพท์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ, 5(1), 56-78.