กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์กับการเขียนเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

พนิดา เชิงหอม
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์
สมร ทวีบุญ
พรชัย ผาดไธสง

บทคัดย่อ

กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เป็นกระบวนการของการสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่สามารถต่อยอดสู่การเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เพราะกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์เป็นการนำการอุปมาหลายประเภทมาใช้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งใช้การเปรียบเทียบ อุปมาสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน เป็นมุมมองใหม่ที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังเป็นแนวคิดในการสร้างความคุ้นเคยให้กับสิ่งที่ต่างกันและทำให้สิ่งที่ต่างกันมีบทบาทสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา โดยในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนเกิดความสามารถอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งในขั้นที่ 1 อาจจะยังไม่เกิดความสามารถใดอย่างชัดเจน แต่เริ่มจากขั้นการเปรียบเทียบ จะก่อให้เกิดความสามารถในการใช้สำนวนภาษาที่ดี และสละสลวย ขั้นการเปรียบเทียบกับตนเอง ก่อให้เกิดความสามารถในการเรียบเรียงถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดแปลกใหม่ผ่านการเขียนได้ ขั้นการหาคำที่มีความหมายขัดแย้งกัน ก่อให้เกิดความสามารถในการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผ่านจินตนาการและประสบการณ์ต่างๆ ขั้นการเปรียบเทียบทางตรงและอธิบายความหมาย ก่อให้เกิดความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสารประสบการณ์ออกมาให้ผู้อ่านอ่านรับรู้อย่างคล่องแคล่ว ถูกต้อง และขั้นการนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน ก่อให้เกิดความสามารถในการเขียนร้อยเรียงแฝงสาระความรู้รวมถึงการเร้าความรู้สึกของผู้อ่านได้ อีกทั้งกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ก่อให้เกิดความแปลกใหม่ในการนำเสนอ ใช้ประสบการณ์ และจินตนาการของผู้เขียน โดยมิได้ลอกเลียนแบบใคร ดังขั้นตอนการเปรียบเทียบในขั้นที่ 2 และการเปรียบเทียบกับตนเองในขั้นที่ 3 ซึ่งสามารถส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการใช้สำนวนภาษาดี สละสลวย และการนำคำใหม่ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานในขั้นที่ 6 เพื่อให้งานเขียนเป็นที่น่าสนใจและเกิดการเร้าความรู้สึกของผู้อ่านได้ จึงทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์สอดคล้องสัมพันธ์กับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มาซึ่งสิ่งที่แปลกใหม่ มีจินตนาการ อันเกิดมาจากความคิดสร้างสรรค์ของตัวผู้เรียนเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :

กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนนี มันตะสูตร. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์

โดยใช้กลวิธี SCPC ร่วมกับโปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน Animation สำหรับนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตรการสอน. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี สุรสิทธิ์. (2549). การเขียนสร้างสรรค์ เชิงวารสารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาวจำกัด.

พนิดา เชิงหอม, “การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์กับการเขียนเชิงสร้างสรรค์,” ใน รายงานสืบเนื่องจากการ

ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ครั้ง ที่ 4 “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมวิถีใหม่สู่อนาคต”, วันที่ 20 พฤษภาคม 2565, ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, หน้า 460 – 472.

พรเพ็ญ ปลีกล่า. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิสมัย ช่วงภักดี. (2554). การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฟิสิกส์ ฌอน บัวกนกและไพศาล สุวรรณน้อย.(2553). การพัฒนารูปแบบกิจกรรม CAPUCHINO MODEL

ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์. ใน Proceeding การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ,

พิมพ์ครั้งที่ 8. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,16-17กันยายน 2553. กรุงเทพฯ.

ศรีประภา ไชยานนท์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การสอนซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนแบบ

เรียนปนเล่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ศศศร เดชะกุล. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมทัศน์ศิลป์สร้างสรรค์ แบบเทคนิกซินเนคติกส์ สำหรับเด็กหญิงชั้น

ประถมศึกษาของสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ.

สินธ์ ศรีพลพา. (2557). การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้

การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สมจิตร์ ศรีสุข. (2550). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนัดเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สัมฤทธิ์ จิวระประภัทร์. (2560). ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5 โรงเรียนจารุวัฒนานุกูล ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ และเรียนรู้ด้วยรูปแบบการคิด

แก้ปัญหาอนาคต ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา

หลักสูตรและการสอน, โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 7).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2552). กิจกรรมการเขียนสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gordon, W JJ.(1961). Synectics: The Development of Creative Capacity.New York :

Harper&Row.

Joyce,B. & Weil, M. (1996). Model of teaching.5th ed. Boston : Allyn and Bacon.