ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มโรงเรียนที่ 2

Main Article Content

ณัฐพล หงษ์คำ
มีนมาส พรานป่า

บทคัดย่อ

              การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มโรงเรียนที่ 2 2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ประชากรคือ ข้าราชการครู จำนวน 1,047 คน จาก 14 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มโรงเรียนที่ 2 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเทียบตารางเครจซี่และมอร์แกนและวิธีสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่สูงที่สุด คือ ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และด้านที่ต่ำสุด คือ ทักษะด้านเทคนิค     2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่สูงที่สุด คือ ด้านความผูกพัน และด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านอำนาจ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มโรงเรียนที่ 2 พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยรวมเท่ากับ .964 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2546). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:อักษราการพิมพ์.

บุญยวรีย์ เศวตวงศ์สกุล.รองศาสตราจารย์ดร.ไมตรี จันทรา.และนายกรีฑา วีระพงศ์.(2557). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต3. วารสารบัณฑิตศึกษา,ปีที่11(ฉบับที่53),187-196

รัชนี อมาตยกุล. (2556). ปัญหาของครู คุณภาพครู. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก http://www.amatykulschool.com/บทความรัชนี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตครูและพัฒนาครูในประเทศไทย. สิ่งพิมพ์ สทศ.อันดับที่ 16/2558.3.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2556). 6 ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของครูไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นจากhttp://www.prachachat.net/new_detail.php?newsid=1358828993. [สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564].

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (2564). ย้ายและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. ปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://www.kruupdate.com. [สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564].

สุริยา ทองยัง.(2558). ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อมสังกัดกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Fducation (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204).

David C. McClelland. (1985) . Methods of Measuring Human Motivation. in John W. Atkinson. ed. Motives in Fantasy. Action and Society. Princeton. N.J.: D. Van Nos-trand.

Drake,Thelbert L. and William H. Roe. 1986. The Pricipalship. 3 rd ed.New York :Macmillan. Frederick Herzberg, Bernard Mausner and Barbara B. Snyderman, The motivation to work, 2nd ed. (New York : John Wiley & Sons Inc. ,1959),44-50.

Javadin Sayed Reza Sayed, Fereshteh Amin, Mayam Tehrani and Ali Remezani. “Studying the Relationship Between Managerial Skills and Efficience of Bank Branchers.” Word Applied Sciences Journal 11,2(2010).

Katz.Robert L. (1974,September-October).“Skill of AN Effective Administrator”. Harward Business Review.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

McClelland, D.C (1985). Human motivation. Cambridge: Cambridge University Press.

McClelland, David C. (1962). Business Drive and National Achievement. New York : D. Van Nostrand.

Pearson, David P. and Johnson, Dale D. (1978). Teaching Reading Comprehension. New York: Holt, Rinehart &Winston.

McGregor, A. J. (2010). Adolescents expectancy beliefs and task values for physically interactive video games. Master’s thesis, Louisiana State University.