ข้อสังเกตบางประการในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

ศรัณยู โสสิงห์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอหลักการและแนวคิดพื้นฐานสำหรับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของมหาวิทยาลัยจากเดิมที่เป็นส่วนราชการมาเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้มหาวิทยาลัยเกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านบุคคล การเงิน การจัดการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการที่มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมถึงพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 และกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ นอกจากนี้ การจัดทำเนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนสถานภาพ จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ ตลอดจนแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ คำนึงถึงภาระต้นทุนในการจัดการศึกษา โอกาส และความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของผู้เรียน รวมถึงสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยที่อาจได้รับผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัยมาประกอบการพิจารณาในการจัดทำร่างกฎหมายด้วย อันจะทำให้ร่างพระราชบัญญัติสอดคล้องกับหลักการกลางสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ และสามารถทำให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองตามบริบทในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีคุณภาพ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
โสสิงห์ ศ. (2022). ข้อสังเกตบางประการในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 59–74. https://doi.org/10.14456/hsi.2022.5
บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รายงานผลการพิจารณาศึกษาข้อเสนอเพื่อการพัฒนาการจัดหน่วยงานของภาครัฐในรูปหน่วยบริหารรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

จรัส สุวรรณเวลา. (2551). ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ประยูร กาญจนดุล. (2537). คำบรรยายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สภาปฏิรูปประเทศ. (2558). วาระปฏิรูปพิเศษ 7 : การปฏิรูปองค์การมหาชน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, วันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2553). แนวทางในการจัดทำร่างกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

เจริญศักดิ์ ศาลากิจ. (2557). ความชอบด้วยกฎหมายของร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. รวมบทความกฎหมายมหาชนจากเว็บไซต์ www.pub-law.net เล่ม 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. 364-372.

สุรพล นิติไกรพจน์. (2535). มหาวิทยาลัยไทยในรูปองค์การมหาชนอิสระ: กรณีตัวอย่างของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 431-452

Jandhyala B. G. Tilak. (2009). “Higher education: a public good or a commodity for trade”, Public Responsibility for Higher Education. Paris (France): UNESCO.

Vuokko Kohtamaki. (2009). Financial Autonomy in Higher Education Institutions. Tampere (Finland): Tampere University Press.