แนววิถี พุทธะ : การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมของสังคมไทย วัดป่าเลไลยก์จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ถนัด ยันต์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับแนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย  เพื่อศึกษาการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับแนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย  เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมแนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้รู้ คือ บุคคลที่มีข้อมูลเชิงลึกในด้าน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผู้ที่ทำหน้าที่สั่งสอนพุทธสาสนิกชน 2. กลุ่มผู้ปฏิบัติ คือพุทธศาสนิกชน ชาวบ้าน พระภิกษุ สามเณร นักเรียน ชาวบ้าน ในจังหวัดสุพรรณบุรี 3.กลุ่มบุคคลทั่วไป คือประชาชนทั่วไปที่สนใจในการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตรใจตองตนเอในสถานการณ์ปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบพรรณนาโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับแนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย ได้แก่ ศีล, สังคหวัตถุ, และ พรหมวิหาร การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย เพื่อให้บรรลุผลคือ การสร้างจิตสานึก  ตระหนักรู้คุณค่า/ความสำคัญของการนำไปประยุกต์ใช้  มีความพยายามศึกษาทำความเข้าใจ  การนำไปใช้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง และถ่ายทอด แบ่งปัน ชักชวนให้ปฏิบัติตาม แนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย ประกอบด้วย 4 แนววิถี ได้แก่ แนววิถีที่ 1 คือการศรัทธาในพระพุทธศาสนา แนววิถีที่ 2  คือการแสดงออกเชิงวัฒนธรรม แนววิถีที่ 3 คือการมีเป้าหมายที่ชัดเจน  และแนววิถีที่ 4  คือแนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการดำเนินชีวิตที่ดีงามในทุกระดับ ตามแบบวิถีวัฒนธรรมของชาวพุทธในสังคมไทยเพื่อความผาสุกของสังคมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

Article Details

How to Cite
ยันต์ทอง ถ. (2022). แนววิถี พุทธะ : การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมของสังคมไทย วัดป่าเลไลยก์จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 1–15. https://doi.org/10.14456/hsi.2022.1
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา นิยมทอง. (2663). สัมภาษณ์โดย ถนัด ยันต์ทอง [การบันทึกเสียง].ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนกรรณสูตรศึกษาลัย, จังหวัดสุพรรณบุรี.

________________. (2562).ความเชื่อปรัชญาและศาสนาเปรียบเทียบ.วัดป่าเลไลย์.สุพรรณบุรี

ธิดา สาระยา. (2552). อารยธรรมไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2557)ราชอาณาจักรลาว.ศรีสวัสดิ์.กรุงเทพฯ.สยาม.

ในตะวัน กำหอม. (2559)การวิจัย ประยุกต์ทางวัฒนธรรม. เล่ม 2 วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพฯ

________________. (2563) ทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรม. วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพฯ

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฐิติพร โยทาพันธ์. (2564). ธรรมะนำชีวิต สู้โควิด-19.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ.สสส.อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ.กรุงเทพฯ

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2563). หลักพุทธธรรมแนววิถีการดำรงชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย.วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม วิทยาลัยทองสุข

พระครูจันโทภาส, (ชาคโร). (2564). เรื่องการประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมในการดำเนินชีวิตของผู้งอายุ ในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.วิทยาเขตหนองคาย

พระมหาสุริยะ มทฺทโว. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการรับมือปัญหาโรคระบาด COVID-19.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอกบุญญาวรรณ พลอยพรรณณา. (2564). การวิเคราะห์หลักอัตถิภาวนิยมในพระพุทธศาสนา.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

บทสัมภาษณ์

พระธรรมพุทธิมงคล. (2563). สัมภาษณ์โดย ถนัด ยันต์ทอง [การบันทึกเสียง].เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์, จังหวัดสุพรรณบุรี.

พระครูพิพัฒน์วุฒิการ. (2563). สัมภาษณ์โดย ถนัด ยันต์ทอง [การบันทึกเสียง].ผู้เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์, จังหวัดสุพรรณบุรี.