การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กรณีศึกษาดินสำหรับปลูก-เพาะกัญชงกัญชาของนักศึกษาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

Main Article Content

วุฒิพงษ์ ฮามวงศ์

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กรณีศึกษาดินสำหรับปลูก-เพาะกัญชงกัญชา ของนักศึกษาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ลดบทบาทของครูผู้สอน แต่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้คิดในสิ่งที่ทำลงไปเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เรียนและครูผู้สอน ด้วยการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Line, Google Classroom, Google meet รายงานความก้าวหน้าและเก็บข้อมูล เพื่อทำการประเมินผลในลักษณะการประเมินตามสภาพจริง (Formative Assessment) เป็นแบบ 360 องศา ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร จนเกิดองค์ความรู้ด้านดินสำหรับปลูก-เพาะกัญชงกัญชา ที่กลุ่มผู้เรียนให้ชื่อเรียกว่า “ภูพานซอยล์” ซึ่งเป็นดินสำหรับปลูก-เพาะกัญชงกัญชาที่ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น พัฒนาขึ้นตามสูตรดินสำหรับปลูก-เพาะขององค์ความรู้แพทย์แผนไทยสกลนคร ผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การทดลอง ลงมือปฏิบัติจริงของผู้เรียนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารสำหรับกัญชงกัญชา


 


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (2564), 11-28.

ครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน. (2562). การผลิตและพัฒนาสูตรดินปลูกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อจำหน่าย กรณีศึกษากลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลหนองลาด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, ปีที่ 36 ฉบับที่ 3, 66-77.

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2563). รายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ ระดับปริญญาตรี. สกลนคร: สำนักพิมพ์

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2563). การจัดการศึกษาแบบ Active Learning บน Online Platform ในยุค COVID 19. [ออนไลน์]. จาก http:s//www.starfishlabz.com/blog/158-การจัดการศึกษาแบบ Active Learning -online-platform-ในยุค-covid-19 [สืบค้น 20 มิถุนายน 2564].

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. จาก http://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile/ 27022015155130_article.docx. [สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564].

วิฑูรย์ ปัญญากุล, นฤเบศ แสงสวัสดิ์, จุรัญญา อ่อนล้อม, พัฒน์สิน วราดชติเดชานนท์, ธนัส ศิรดุลยกร, กมลศรี ศรีวัฒน์. (2562). คู่มือสำหรับเกษตรกรการปลูกกัญชาทางการแพทย์แบบเกษตรอินทรีย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

วุฒิพงษ์ ฮามวงศ์. (2561). องค์ความรู้หมอพื้นบ้านสกลนคร. สกลนคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. [ออนไลน์]. จาก ttps://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141. [สืบค้น 22 เมษายน 2564].

สมชาย แก้ววังชัย. (2564). เคล็ดลับการปลูกกัญชา กัญชง ที่ใครก็ทำได้. [ออนไลน์]. จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_177311. [สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564].

หมอบุญ บุตรผาพรม. (2564, เมษายน 30). หมอพื้นบ้าน. [บทสัมภาษณ์].

อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ, ดร.ฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปีที่ 30,ฉบับที่ 2, 1-13.

เอกรัตน์ หอมประทุม. (2564). การประยุกต์ใช้ Active Learning ในการเรียนการสอน. [ออนไลน์]. จาก http://www.edbathai.com/Main2/แผนกวิชาการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน/86-บทความการศึกษา. [สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564].

Bray, R. H. and L.T, Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 9 : 243.

Chapman, H..D. 1965. Cation exchange capacity. In : C.A. Black (Ed.) Methods of soil analysis-chemical and microbiological properties. Agronomy. 9: 891-901.

Jones, J. B. Jr., 2001. Laboratory Guide for Conducting Soil tests and Plant Analysis. Boca Raton : CRC Press.

Nathad Somchan and Arawan Shutsrirung. 2014. Leonardite Quality Improvement for Soil Amendment. Research and Development kingmogkut Journal. 37 (1) : 33–43 (in Thai)