การแสดงดนตรีในสถานบันเทิง กรณีศึกษา: ย่านหลังมอ เขตเทศบาลนครขอนแก่น Music in Entertainment Venues: A Case Study of Lung Maw Area Society, Khon Kaen Municipality, Khon Kaen Province, Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การแสดงดนตรีในสถานบันเทิง ย่านหลังมอ เขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของดนตรีในสถานบันเทิง ย่านหลังมอ เขตเทศบาลนครขอนแก่น และ 2) เพื่อศึกษาการแสดงดนตรีในสถานบันเทิง ย่านหลังมอ เขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้วิธีการทางมานุษยดนตรีวิทยา เป็นกระบวนการวิจัย พร้อมทั้งตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า สถานบันเทิงเปิดให้บริการตามกลุ่ม “วัยรุ่น - นักศึกษา” ในแต่ละร้านแสดงดนตรีสด รูปแบบวงโฟล์กซอง วงสตริง ซึ่งมีการใช้แนวเพลงที่แตกต่างกันไป ทำให้นักดนตรีกับผู้ฟังถ่ายทอด สุนทรียภาพ และแสดงพฤติกรรมจากการรับรู้เนื้อหาเพลงได้แตกต่างกัน ผู้ประกอบการมีวิธีเลือกจ้างนักดนตรี จากหลายปัจจัย ได้แก่ แนวเพลง การแต่งกาย และจุดเด่นของนักดนตรีประจำร้าน นักดนตรีมีเทคนิค การเลือกใช้เครื่องดนตรีอย่างน่าสนใจ เลือกเพลงที่ใช้แสดงจากแนวเพลงที่ถนัดและได้รับความนิยม โดยแต่ละเครื่องมีหลักการแกะเพลง และการซ้อมอย่างเชี่ยวชาญ มีกลุ่มนักดนตรีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีการนัดหมายซ้อม นอกเวลา เทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานมี 5 วิธี คือ 1) การเลือกใช้ทำนอง 2) การเลือกใช้คอร์ด 3) การเลือกใช้เสียงประสาน 4) การเลือกใช้จังหวะ และ 5) การเลือกใช้เทคนิคอื่นๆ
This article aims to: 1) study musical context from entertainment venues within Lung Maw Area, Khon Kaen municipality. 2) study music performances from entertainment venues within Lung Maw Area, Khon Kaen municipality, in terms of the practice and performance techniques with ethnomusicology a research methodology, including data analysis as quality research.
The results showed that entertainment venues within Yaan Lung Maw society based their business hours on teenagers and students. The entrepreneurs provided unique services such as folk song performances, including various music styles, since musicians and audiences can express their aesthetics through the lyrics as well as the instrumental performance. The musicians have their own musical instruments and song choice techniques based on musical styles or popularity. The song transcription and practice for each instrument are expertly conducted. The harmony arrangement techniques are: 1) proper melody selection, 2) proper chord selection, 3) proper harmony selection, 4) proper rhythm selection, and 5) Other technique selection.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนเท่านั้น