การสร้างสรรค์การแสดงลำหมู่ร่วมสมัย กรณีศึกษา นางไอ่เดอะไลฟ์แอนด์เลิฟ

Main Article Content

พชญ อัคพราหมณ์
ดังกมล ณ ป้อมเพ็ชร

บทคัดย่อ

บทความนำเสนอกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. หากลวิธีสร้างสรรค์การแสดงลำหมู่ร่วมสมัยโดยใช้ละครดีไวซ์เป็นเครื่องมือในการทดลองทำงานร่วมกับผู้มีส่วนร่วม และใช้วรรณคดีอีสานโบราณเรื่อง “ผาแดงนางไอ่” เป็นฐานตั้งต้น 2. สร้างการแสดงลำหมู่ที่มีความร่วมสมัยทั้งความคิดที่สื่อสาร และรูปแบบการแสดงที่เหมาะสมกับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายโดยยังคงคุณค่าของการแสดงลำหมู่ การวิจัยเน้นการปฏิบัติและทดลองสร้างการแสดงจากองค์ประกอบการแสดงลำหมู่ และใช้กลวิธีละครตะวันตกสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงลำหมู่ที่ได้มีความแตกต่างจากแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยเรียกว่า “หมอลำลูกผสม” อันเป็นลักษณะของการแสดงลำหมู่ที่มุ่งนำเสนอคุณค่าสาระของเรื่องที่เชื่อมต่อประเด็นสังคมร่วมสมัย การลำและการแสดงผสานเข้าด้วยกันเพื่อสื่อสารความคิดและความรู้สึกของตัวละครจากภายใน การฟ้อน-เต้น เป็นส่วนสำคัญในการเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหว เพื่อสื่อสารความจริงของมนุษย์ในเชิงสัญลักษณ์ และการกำกับการแสดงทำให้ภาพบนเวทีเป็นเอกภาพและสื่อสารเรื่องราวกับผู้ชม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2520). ลักษณะวรรณกรรมอีสาน. กาฬสินธุ์ : จินตภัณฑ์การพิมพ์

ธนัชพร กิตติก้อง. (2559). การวิจัยสร้างสรรค์ด้านศิลปะการแสดง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1), 107-130.

นพมาส แววหงส์ และคณะ. (2553). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษกร บิณฑสันต์, และขำคม พรประสิทธิ์. (2553). หมอลำ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณิตา น้อยหลุบเลา. (2560). ผาแดงนางไอ่: พลวัตวรรณกรรมท้องถิ่นกับบทบาทการสร้างพลังชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีชา พิณทอง. (2524). วรรณคดีอีสานเรื่องผาแดง-นางไอ่. อุบลราชธานี: ศิริธรรม.

พชญ อัคพราหมณ์. (2566). พชญ อัคพราหมณ์. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

พรรัตน์ ดำรุง. (2557). ละครประยุกต์ การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ดำรุง. (2564). วิจัยการแสดง สร้างความรู้ใหม่ด้วยการทำละคร. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพฯ : วิภาษา.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2547). สายธารแห่งฟ้อนอีสาน. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

มัทนี รัตนิน. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการกำกับละคอนเวที. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เยาวรัตน์ การพานิช. (2538). หลักการละครตะวันตกและละครตะวันตกสมัยใหม่. ขอนแก่น : ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิราพร ณ ถลาง. (2563). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โศภิตสุดา อนันตรักษ์. (2534). การวิเคราะห์ลำเรื่องต่อกลอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเอกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สดใส พันธุมโกมล. (2524). ศิลปการละครเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

เอกศักดิ์ ยุกตะนันท์. (2554). มนุษย์กับการรู้จักตนเอง: การรู้จักตนเองสำหรับคนหนุ่มสาวในสังคมไทย. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เออร์บินเนอร์. (2564). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2567. จาก https://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs#viewer-352mq

Crossley, M., & Yarker, J. (2017). Devising theatre with Stan’s Café. London : Bloomsbury Publishing.

Gabbert, L. (2018). Folk drama. Humanities, 7(2), 1-11.

Green, T. A. (1981). Introduction folk drama special issue. Journal of American Folklore, 94, 421–432.

Harvey, J., & Lavender, A. (2010). Making contemporary theatre: International rehearsal processes. Manchester: Manchester University Press.

Heddon, D., & Jane, M. (2005). Devising performance: A critical history. Basingstoke : Palgrave Macmillan.

Hodgson, J., & Richards, E. (1966). Improvisation: Discovery and creativity in drama. London : W. & J. Makey.

Khan, A. (2013). A study of theatre techniques in modern drama with particular reference to Pirandello Brecht and Albee. Retrieved January 10, 2024, from https://core.ac.uk/download/pdf/144526792.pdf

Oddey, A. (1994). Devising theatre. New York : Routledge.

Pettit, T. (1997). Drama, folk. In T. A. Green (Ed.). Folklore: An encyclopedia of beliefs, customs, tales, music, and art. (pp. 205–212). Santa Barbara : ABC-CLIO.

Pickering, K. (2010). Key Concepts in Drama and Performance. London : Bloomsbury Publishing.