กระบวนการคิดแบบโมเดลเพชรคู่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์

Main Article Content

อฏฐม สาริบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาปัญหากระบวนการเรียนรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้เรียน 2. เพื่อวิเคราะห์และประยุกต์กระบวนการคิดแบบโมเดลเพชรคู่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังจากการใช้กระบวนการคิดแบบโมเดลเพชรคู่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบชั้นปีที่ 1 จำนวน 56 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ 1. แบบสอบถามปัญหาด้านการเรียนการสอนด้านการออกแบบ 2. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของผู้เรียนส่วนใหญ่ เกิดจากพื้นฐานของการเรียน ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนออนไลน์ ที่ทำให้ไม่สามารถเรียนภาคปฏิบัติได้เต็มที่เพื่อให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ หรือกระบวนการคิดที่เป็นระบบเพื่อนำไปสู่การสร้างผลงานการออกแบบที่เป็นจริงได้ ผู้วิจัยจึงนำกระบวนการคิดแบบโมเดลเพชรคู่มาใช้ในการสร้างกระบวนการคิดเพื่อนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นระบบ ผลการทดสอบ พบว่าผู้เรียนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ตามกระบวนการได้เป็นระบบขึ้น โดยผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังจากการใช้กระบวนการคิดแบบโมเดลเพชรคู่ พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนมีการเพิ่มขึ้น (gif.latex?\bar{x}=17.31, S.D. 3.66) ซึ่งสูงขึ้นกว่าคะแนนก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}=12.59, S.D. 3.53) และมีค่าทดสอบที (T-Test Dependent) ที่ -7.95 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2563). อนาคตออกแบบ : ผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา, และชูจิต ตรีรัตยพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2363-2380.

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 6-12.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา, พระมหาศุภชัย ศุภกิจโจ, ประยุทธ ชูสอน, สุทธิพงษ์ สนสุวรรณ, และมณฑกานต์ มุ่งสเน่ห์. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 163-172.

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). กระบวนการโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน, และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2549). การสอนเพื่อพัฒนาความคิด. สงขลา : เทมการพิมพ์.

สุทธิกานต์ เลขาณุการ, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, ชาตรี ฝ่ายคำตา, และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2565). สมรรถนะการสอนการคิดเชิงออกแบบของครูวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(2), 370-380.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ โอเดียนสโตร์.

Ahmad, M. F., Hoong, K. C., Hamid, N. A., Sarpin, N., Zainal, R., Ahmad, A. N. A., et al. (2018). The impact of product design and process design towards new product performance in manufacturing industry: A survey result in Malaysia. International Journal of Supply Chain Management, 7(2), 102–106.

Design Council. (2018). Design methods for developing service. London : Design Council.

Gustafsson, D. (2019). Analysing the Double diamond design process through research & implementation. Master of Arts Thesis in Collaborative and Industrial Design, Department of Design, Aalto University, Finland.