การออกแบบชุดตัวอักษรสะท้อนอัตลักษณ์วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Main Article Content

สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์องค์กรและออกแบบชุดตัวอักษรของวิทยาลัยเพาะช่าง และประเมินความพึงพอใจชุดตัวอักษร กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรภายในองค์กรวิทยาลัยเพาะช่าง จำนวน 50 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และกลุ่มศิษย์เก่า-นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 150 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ รวมทั้งสิ้น 200 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวอักษรและอัตลักษณ์องค์กร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเชิงสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิทยาลัยเพาะช่างเป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปกรรมที่ผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มุ่งเน้นการอนุรักษ์งานช่าง ศิลปะและการออกแบบ ผสมผสานไทยกับสากล สภาพแวดล้อมมีความร่วมสมัย ภาพลักษณ์มีความสุขุม อนุรักษ์นิยม เน้นความร่วมสมัย 2) ผลการออกแบบชุดตัวอักษร เป็นตัวอักษรพาดหัว หัวอักษรลดรูปจากลายไทยให้กลมโปร่ง เส้นตั้งมาจากภาพจำอาคารอำนวยการ รูปร่างมีมาตรฐานให้ความรู้สึกเป็นทางการ น่าเชื่อถือ น้ำหนักหนา-บาง ดูอ่อนหวานสะโอดสะองมีความเป็นผู้ดี ความรู้สึกเป็นงานฝีมือที่มีความร่วมสมัยเรียบง่าย ดั้งเดิม ดูดี 3) ผลความพึงพอใจเฉลี่ยรวมแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มบุคลากรวิทยาลัยเพาะช่าง มีความพึงพอใจในระดับ “มาก” (gif.latex?\bar{x}  = 4.34) และ กลุ่มศิษย์เก่า-นักศึกษาปัจจุบัน วิทยาลัยเพาะช่าง มีความพึงพอใจในระดับ “มาก” (gif.latex?\bar{x}  = 4.45) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับ “มาก” (gif.latex?\bar{x}  = 4.40)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เจริญผล. (2554). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัย นอร์ท-เชียงใหม่. บียู อะคาเดมิค รีวิว, 10(2), 18-24.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). อัตลักษณ์วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ. (2543). การใช้ตัวอักษรไทยเพื่อสื่อสารบุคลิกลักษณะในงานออกแบบเรขศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขานฤมิตศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุกูล ชมภูนิช. (2554). ตึกไทยประยุกต์แห่งแรกของไทย. ใน สมาคมศิษย์เก่าเพาะช่าง. ใน รำลึก 100 ปี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ราชบัณฑิต ศิลปินแห่งชาติ. (หน้า 218-219). กรุงเทพฯ : กรังด์ปรีซ์อินเตอร์เนชั่นแนล.

บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส. (9 เมษายน 2564). สัมภาษณ์. ผู้อำนวยการ. วิทยาลัยเพาะช่าง.

ยุทธภูมิ สุวรรณเวช. (2551). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครในทัศนะของสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สมาคมศิษย์เก่าเพาะช่าง. (2556). เพาะช่าง 100 ปี. กรุงเทพฯ : กรังด์ปรีซ์อินเตอร์เนชั่นแนล.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คอร์ฟังก์ชั่น.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Ambrose, G. (2006). The fundamentals of typography. Singapore : AVA Book Production.

Askegaard, S., & Chirstensen, L. T. (2001). Corporate identity and corporate image Revisited:

A semiotic perspective. European Journal of Marketing, 35(3/4), 292-315.

Keller, K. L. (2003). Strategic Brand management: building, measuring and managing brand equity. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall.

Miltenburg, A. (2017). Brand the Change. Amsterdam : BIS Publishers.

Samara, T. (2018). Letterforms. London : Rockport Publishers.

Söderhavet. (2013). Sweden. Retrieved July 8, 2023, from https://soderhavet.com/work/ sweden