การศึกษาองค์ประกอบและวิเคราะห์การแสดงละครนอกแบบหลวง เรื่อง มหาภารตะ ตอนสาปอรชุน

Main Article Content

กฤษฎ์เตชินห์ เสกฐานโชติจินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาองค์ประกอบและวิเคราะห์การแสดงละครนอกแบบหลวง เรื่อง มหาภารตะ ตอนสาปอรชุน    มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและวิเคราะห์การแสดงละครนอกแบบหลวง และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการแสดงละครนอกแบบหลวง ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารและตัวบทการแสดงละครนอกแบบหลวง ผลการศึกษา พบว่า


1. องค์ประกอบของการแสดงละครนอกแบบหลวง พบว่า เป็นละครนอกแบบหลวงเป็นรูปแบบละครนอกที่ปรับปรุงขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยละครนอกเป็นละครที่มีการปรับปรุงมาจากละครโนห์ราชาตรี ซึ่งเกิดขึ้นในภาคใต้ และเป็นละครที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยใช้ผู้ชายแสดงล้วน องค์ประกอบต่าง ๆ ของการแสดง เช่น การแต่งกาย วงดนตรี สถานที่แสดง ละครนอกเป็นการแสดงเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ จึงได้มุ่งการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วและตลกขบขัน ถ้อยคำในบทละครเป็นคำตลาดอย่างชาวบ้าน ใช้คำเปรียบเปรยในเชิงหยาบโลน และขบขันถึงใจผู้ชมได้มาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงแบบแผนรักษาจารีตประเพณี


2. องค์ประกอบละครนอกแบบหลวงเรื่องมหาภารตะ ตอนสาปอรชุน พบว่า เป็นละครที่เกิดจากการปรับปรุง และดัดแปลงมาจากละครนอกดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะของละครนอกคือการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว แต่มีกระบวนพรรณนา เช่น การชมตัวละคร การชมธรรมชาติหรือสถานที่ การลงสรงทรงเครื่อง ตามแบบละครใน และมีบทตลกขบขันอย่างไม่หยาบโลน องค์ประกอบของละครเรื่องมหาภารตะ ตอนสาปอรชุน มีลักษณะตามแบบละครนอกแบบหลวงดังกล่าว แสดงแนวคิดว่าการพนันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียทุกอย่างและทำให้ชีวิตเดือดร้อน ดังพระอรชุนซึ่งต้องถูกนางฟ้าอุรวศีสาปให้เป็นกะเทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2548). บทละครนอก เรื่อง ยุขัน. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2564). พันธกิจ. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564, จาก https://www.culture.go.th/ culture_th/ewt_news.

กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. (2561). หนังสือแปลมหากาพย์มหาภารตะ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

กุลนิจ คณะฤกษ์. (2552). ขนบการประพันธ์และทรรศนะเรื่องการคิดสร้างสรรค์ในวรรณคดีสันสกฤต: ศึกษาเปรียบเทียบจากวรรณคดีมหากาพย์กับวรรณคดีกาวยะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา. (2561). บทละครแปลเรื่องมหาภารตะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์. (2534). นาฏศิลป์. กรุงเทพฯ : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2533). “วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง” กฤษณาสอนน้องคำฉันท์. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2508). ตำนานละครอิเหนา. พระนคร : คลังวิทยา.

ธันธวัช ปิ่นทอง. (2562). ความแพร่หลาย และลักษณะเด่นของละครนอกแบบหลวง เรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่-หาปลา ของกรมศิลปากร. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(2), 14-25.

ปัทมา วัฒนพานิช. (2554). การศึกษานาฏยลักษณ์ของละครหลวงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรินทร์ จันทรัดทัต. (2557). บทบาทและลีลาท่ารำนางเมรีในละครนอก เรื่องรถเสน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2561). นิราศคำโคลง: การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับนิราศชนิดอื่น. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25675.

วาทิน ศานติ์ สันติ. (2556). วรรณกรรม: มหากาพย์มหาภารตะ. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/378628.

วิมลศรี อุปรมัย. (2553). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2563). การบริหารวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์เพื่อสังคม.

เสาวณิต วิงวอน. (2558). บทละครนอกแบบหลวง: การพินิจตัวบทสู่บทละครการแสดง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อมรา กล่ำเจริญ. (2526). สุนทรียนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.