การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านป่างิ้ว

Main Article Content

ภัทรกร ออแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยง ชุมชนบ้านป่างิ้ว 2) พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านป่างิ้ว 3) ประเมินความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านป่างิ้ว การเก็บข้อมูลมี 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 10 ท่าน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ด้วยการการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 2 คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วน (Rating Scale) กลุ่มที่ 3 ผู้บริโภคที่ซื้อผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยง จำนวน 90 ท่าน โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ เป็นวิถีชาวบ้านที่ได้รับการสอนและสืบทอดจากบรรพบุรุษของชนเผ่าชาวกะเหรี่ยง เหตุผลที่ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากชุมชนบ้านป่างิ้ว เพราะชอบในความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ชนเผ่าและสามารถใช้งานได้จริง ผลการออกแบบแบรนด์และตราสินค้า ใช้ชื่อว่า “ยุผ่อ” เป็นภาษา ปกาเกอะญอ แปลว่า ดอกงิ้ว ผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ผลิตจากกระดาษคราฟท์ (KP) เป็นกล่อง 6 เหลี่ยมโดยมีด้านบนลักษณะคล้ายไม้แขวนเสื้อ บรรจุสินค้าจากด้านล่างกล่อง โครงสร้างสามารถแขวนโชว์สินค้า ณ จุดซื้อจุดขาย กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ใช้สีเดียว คือ สีแดงแสด มาจากสีของดอกงิ้ว ซึ่งเป็นสีประจำชุมชนบ้านป่างิ้ว ลวดลายกราฟิกที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ชื่อลาย “เก่อปอแม” แปลว่าฟันของแมงมุม ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อตราสินค้า อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.89, SD. = 0.88) ความพึงพอใจต่อต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านป่างิ้ว อยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?\bar{x}= 4.43, SD. = 0.71)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ ตาลกุล, มานวงศ์ ธนิกกุล, พัชราภรณ์ ตันจินดา, สิทธิ์ชนน สิทธิชัยนันทน์, ศุภชัย เหมือนโพธิ์, และศรวิชา กฤตาธิการ. (2562). การวิจัยเพื่อการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ปลาสลิดไร้ก้าง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 3(1), 77-88.

ฐาปนีย์ เครือระยา. (2563). ปกาเกอะญอ. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก https://art-culture.cmu.ac.th/ Lanna/articleDetail/1253

ดรณิ แสงเดือน. (2556). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับหมูยอ กรณีศึกษา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญญารัตน์ ธีรหิรัญวัฒน์. (2564). ผ้าปักปกาเกอะญอ สู่ภูษาอาเซียน. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG210613103941629

ปิลันลน์ ปุณญประภา, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, นพดล อินทร์จันทร์, และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2561). ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาต่อภูมิปัญญาและการสืบทอดผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 159-168.

พิมพ์ลภัทร ศรีมณฑา, และพัชร พิลึก. (2554). ภาพลักษณ์ตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OPC) ในเขตจังหวัดนนทบุรี: รายงานผลการวิจัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ยุพดี เสตพรรณ. (2544). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : พิศิษฐ์การพิมพ์

สายสุนีย์ สิงหทัศน์. (2564). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/154/4/C1_382036.pdf

สาวิตรี สุวรรณสถิตย์. (2539). ศิลปะการทอผ้าไทย. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://saranukromthai.or.th

สุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 63(199), 19-21.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสรญา ส้มเขียวหวาน. (2557). ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตกระดายอย่างง่ายจากเปลือกกล้วยสดและจากผลผลิตเหลือทิ้งหลังการหมักเอทานอล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Srirajlao, M. (2018) The study changed of villages name and identities is reflected to Maha Sarakham Province. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 10(2), 112-123.