การออกแบบเชิงเร้าอารมณ์: แนวทางการประยุกต์แนวคิด เพื่อออกแบบอุปกรณ์จัดเก็บเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร

Main Article Content

เสน่ห์ สำเภาเงิน
วรชัช บู่สามสาย
สุรเชษฐ์ สิริแวงควง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบอุปกรณ์จัดเก็บเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จากการประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบเชิงเร้าอารมณ์ และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต้นแบบอุปกรณ์จัดเก็บเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภค จำนวน   100 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจงผ่านระบบออนไลน์ สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการออกแบบอุปกรณ์จัดเก็บเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ของแนวคิดการออกแบบเชิงเร้าอารมณ์ (ระดับสัญชาตญาณ ระดับพฤติกรรม ระดับการไตร่ตรอง) ที่ส่งผลต่อแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ (รูปลักษณ์ภายนอก เรียนรู้การใช้งาน เรื่องราวหรือความหมาย) เพื่อคาดการณ์การตอบสนองของผู้บริโภค (สะดุดตา สะดวกสบาย สะท้อนภาพลักษณ์หรือสื่อสารตัวตน) รวมทั้งประยุกต์ใช้ผังทางความคิดในการพัฒนารูปแบบอุปกรณ์ เกิดเป็นแนวคิด “รักและห่วงใย” แรงบันดาลใจจากการเลียนแบบท่าทางและพฤติกรรมของคน ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกที่แสดงถึงความรักผ่านการจับมือ การโอบกอด จากนั้นออกแบบและผลิตเป็นต้นแบบอุปกรณ์ จำนวน 3 รูปแบบ ซึ่งต้นแบบอุปกรณ์ที่มีผลรวมมากที่สุด คือ รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมาก (𝑥̅ = 4.24, S.D. = 0.55) 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต้นแบบอุปกรณ์จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผลรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅ = 4.15, S.D. = 0.67) โดยด้านอารมณ์ความรู้สึก มีความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅ = 4.10, S.D. = 0.68) และด้านการออกแบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅ = 4.20, S.D. = 0.66) ซึ่งด้านอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้บริโภคพึงพอใจมากที่สุด คือ ให้ความรู้สึกดึงดูดใจและสะดุดตาเมื่อพบเห็นครั้งแรก มีความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅ = 4.40, S.D. = 0.60) และด้านการออกแบบที่ผู้บริโภคพึงพอใจมากที่สุด คือ มีความแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง มีความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅ = 4.37, S.D. = 0.63) จากผลการประเมิน ต้นแบบอุปกรณ์สามารถกระตุ้นความรู้สึกของผู้บริโภคผ่านการมองเห็นรูปทรงภายนอกได้ ซึ่งสามารถสะท้อนการรับรู้ในระดับสัญชาตญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดการรับรู้ในระดับพฤติกรรมและระดับการไตร่ตรองต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนัญชิดา ยุกติรัตน์. (2563). การวิจัยและพัฒนาในงานออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ณัฐพงษ์ คงประเสริฐ. (2558). การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 55-65.

ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2563). อนาคตออกแบบ: ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

เทพฤทธิ์ ไชยจันทร์. (2564). การออกแบบมาสคอตผ่านทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ กรณีศึกษาคณะ ศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มทร.อีสาน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 34(1), 230-251.

ธราเทพ แสงทับทิม. (2562). Mind map for work & study. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พราว.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ฟิลิป คอตเตอร์, เหมะวัน การตะจายา, และไอวัน เซเตียวาน. (2564). การตลาด 5.0: เทคโนโลยีเพื่อมวลมนุษยชาติ. (แปลจาก Marketing 5.0. โดย สมสกุล เผ่าจินดามุข). กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ศรีนาฎ ไพโรหกุล. (2565). การออกแบบเชิงอารมณ์ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ลักษณะไทยประยุกต์.วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 34(1), 82-101.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2564). ผลสำรวจคนไทยมีอัตราช้อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลกช่วง COVID-19. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://www.tcijthai.com/news/2021/19/ scoop/11763

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2564). เจาะเทรนด์โลก 2022: READY SET GO. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน).

สมชาย ดิษฐาภรณ์, เสน่ห์ สำเภาเงิน, และวีรพล หวังเจริญ. (2565). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากแนวคิดการลอกเลียนธรรมชาติ กรณีศึกษาอุปกรณ์ปลูกผัก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงาน สร้างสรรค์, 9(1), 111-137.

Norman, D. A. (2004). Emotional design: Why we love (or hate) everyday things. New York : Basic Books.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row.