การเดี่ยวคลาริเน็ตแนวเพลงไทย: กรณีศึกษา สิบเอกวรวุฒิ คำชวนชื่น

Main Article Content

ณัชชา ฤกษ์ถนอม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคนิคการบรรเลงคลาริเน็ตในแนวเพลงไทย และ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างด้านเทคนิคการบรรเลงเดี่ยวคลาริเน็ตแนวเพลงไทยและตะวันตก โดยกรณีศึกษาการบรรเลงเดี่ยวคลาริเน็ตของสิบเอกวรวุฒิ คำชวนชื่น เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์การเดี่ยวคลาริเน็ตแนวเพลงไทย โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นไปแบบไม่เป็นทางการ เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์แบบยืดหยุ่นในการตอบคำถามและสร้างความเป็นกันเอง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกการสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า เทคนิคการบรรเลงเดี่ยวคลาริเน็ตแนวเพลงไทยและตะวันตกมีความคล้ายคลึงกัน คือมีกลวิธีการบรรเลงในลักษณะเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน โดยเทคนิคการบรรเลงคลาริเน็ตแนวเพลงไทยที่เป็นที่นิยมมี 7 เทคนิค ได้แก่ (1) การสะเดาะ (2) การระบายลม (3) การสะบัด (4) การเอื้อน (5) การพรมนิ้ว (6) การขยี้ และ (7) การโหนเสียง หลักสำคัญที่ควรปฏิบัติในการบรรเลงคลาริเน็ตในแนวเพลงไทยมีสองหลักสำคัญ ประการที่หนึ่งคือ การฟังแล้วเลียนแบบ ลอกเลียนเสียงและเทคนิคที่ได้ยินให้ใกล้เคียงที่สุด เสมือนการแกะเพลง ประการที่สองสองคือ ควรต่อเพลงกับครูดนตรีที่มีความชำนาญ เพื่อความถูกต้อง ถูกสำเนียงที่ควรเป็นของเพลงนั้น ๆ การบรรเลงคลาริเน็ตในแนวเพลงไทยไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะความนิยมของผู้คนในปัจจุบัน ที่มีความนิยมฟังเพลงหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป หากฟังเพลงต่างสำเนียงอาจจะไม่ชอบหรือไม่ถูกใจตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินนาฏ ผินกลาง, ทินกร อัตไพบูลย์, และพิทยวัฒน์ พันธะศร. (2558). กระบวนการเรียนรู้เพลงไทยในรูปแบบการบรรเลงเดี่ยวปี่คลาริเน็ต ของศิลปินแห่งชาติ: กรณีศึกษาพันโทวิชิต โห้ไทย. รมยสาร, 13(3), 79-88.

ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2550). ดนตรีคลาสสิก: ศัพท์สำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัพพสาร เพ็งสงค์, และพรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์. (2559). กลวิธีการเดี่ยวปี่คลาริเน็ตบีแฟลตเพลงเชิดนอกของ

พันโทวิชิต โห้ไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(2), 122-127.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). ทฤษฎีการสอนดนตรี. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก http://www.playmusic.co.th/images/filestorage/2555_06_1/_Suzuki.pdf

เวนิสา เสนีวงศ์ฯ. (2555). แปดเจ้าฟ้าแห่งสยาม. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค.

อานันท์ นาคคง. (2556). การศึกษาวงดนตรีไทยร่วมสมัยและผลงานดนตรีไทยร่วมสมัยในสังคมไทยปัจจุบัน: รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.

อุทัย ศาสตรา. (2561). การสร้างสรรค์ดนตรีไทย: แนวคิดและแนวทางการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 554-569.

Giammanco, G. (1978). The historical and technical development of clarinet transposition. Retrieve March 11, 2021, from https://repository.lsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=4202& context=gradschool_disstheses