วิธภาษาหน้าที่ในภาพยนตร์เรื่องเงียบให้รอด

Main Article Content

ธนสิน ชุตินธรานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ตัวบท และการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธภาษาหน้าที่ที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องเงียบให้รอด ซึ่งออกฉายในปีพุทธศักราช 2562 ผลการวิจัยพบว่าวิธภาษาหน้าที่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ปรากฏ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเสียง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิกฤต และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับศาสนา นอกจากนี้การใช้วิธภาษาหน้าที่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์จินตคดีประเภทเรื่องเล่า ช่วยสร้างความสมจริงแก่
ตัวละครและสถานการณ์ สร้างเอกภาพ และเป็นการจำลองการเลือกภาษาของมนุษย์ ทั้งนี้ภาพยนตร์เรื่องเงียบให้รอดได้เน้นย้ำให้เห็นว่าสถานการณ์ และเงื่อนไขการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกภาษาของมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ กาญจนประดิษฐ์, จตุพร สีม่วง, ธรณัส หินอ่อน, วัศการก แก้วลอย, และวนิดา พรหมบุตร. (2564). ป้าตสะลาจ: สัทพจน์ทางดนตรีในคัมภีร์ในลานมอญ. วารสารไทยคดีศึกษา, 18(2), 147-168.

จีรนุช สมโชค. (2553). ประวัติของการควบคุมขนาดของครอบครัว: มุมมองของซีกโลกตะวันตก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 16(2), 15-21.

ณัฏฐา ระกำพล. (2562). วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน. วิทยานินพธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2546). สุนทรียนิเทศศาสตร์ การศึกษาสื่อสารการแสดงและสื่อจินตคดี. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช เวศตัน. (2563). การออกแบบในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.). วิทยานินพธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2557). อุปลักษณ์ในทำเนียบภาษากฎหมาย ภาษาวิชาการ ภาษาการเมือง และภาษาสื่อของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 32(2), 73-84.

เปลื้อง ณ นคร. (2541). ศิลปะแห่งการประพันธ์ : หลักในการถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และจินตนาการจากจิตสำนึก. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2546). นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

ราษฎร์ บุญญา. (2551). ภาษามือ: ภาษาของคนหูหนวก. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 4(1), 77-94.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2561). สารกับการสื่อความหมาย. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

หริณวิทย์ กนกศิลปธรรม. (2556). ความหลากหลายทางเพศในมุมมองของจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์และพุทธศาสนา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 101-122.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cambridge Academic Content Dictionary. (2017). 4th ed. Cambridge : Cambridge University Press.

Flick, U. (2014). An introduction to qualitative research. 5th ed. London : Sage.

Frandsen, F., & Johansen, W. (2017). Organizational crisis communication. London : Sage.

McKee, R. (1997). Story: Substance, structure, style, and the principles of screenwriting.

New York : Harper-Collins.

Merriam, S. B., & Tisdell, E. J. (2015). Qualitative research: A guide to design and implementation. 4th ed. San Francisco : Jossey-Bass.

Shannon, C. E., & Weaver, W. (1969). The mathematical theory of communication. Urbana : University of Illinois Press.

Sheehan, M., & Quinn-Allan, D. (2015). Crisis communication in a digital world. Cambridge : Cambridge University Press.

Thornborrow, J., & Wareing, S. (1998). Patterns in language. Oxon : Routledge.

Ulmer, R. R., Sellnow, T. L., & Seeger, M. W. (2015). Effective crisis communication: Moving from crisis to opportunity. California : Sage.

Ulrich, C. G. (1999). Deutungsmusteranalyse und diskursives Interview. Zeitschrift fur Soziologie, 28, 429-447.