การศึกษาภาพวิถีชีวิตชาวบ้านในจิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อนุชิต โรจนชีวินสุภร
วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี
พิทักษ์ น้อยวังคลัง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง ความหมายเชิงสัญญะจากภาพวิถีชีวิตชาวบ้านในจิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการเขียนภาพ และจัดหมวดหมู่ภาพวิถีชีวิตชาวบ้านในจิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม ใช้พื้นที่การศึกษาเป็นวัดเก่าที่มีอายุ 100 ปี ขึ้นไป จำนวน 3 วัด ได้แก่ วัดโพธาราม วัดป่าเรไรย์ และ วัดบ้านยาง


ในการศึกษาข้อมูลใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการลงพื้นที่ภาคสนาม ใช้เครื่องมือ แบบสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยคัดเลือกชาวบ้านผู้รู้ เป็นตัวแทนชุมชนจำนวน 10 คน กับนักวิชาการที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน มาทำการสนทนากลุ่ม คัดเลือกจากประชากรภาพได้จำนวน 188 ภาพ ใช้ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ ทำวิเคราะห์แยกแยะจัดหมวดหมู่


            ผลการวิจัยพบว่าภาพจิตรฝาผนังในพื้นที่การศึกษา เขียนขึ้นในช่วง พ.ศ. 2450 - 2465 ภาพเขียนวิถีชีวิตชาวบ้านสามารถจัดแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ 1)ภาพวิถีครอบครัว 2)ภาพวิถีชุมชน และ 3)ภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สะท้อนให้เห็นเรื่องราววิถีชีวิตคนในชุมชนของตนเอง เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ชุมชน แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ คติความเชื่อที่แฝงอยู่ การวิจัยในครั้งนี้เกิดข้อค้นพบในการอ่านภาพและวิธีการตีความใหม่ เป็นการช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการชมภาพเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโบราณคดี กรมศิลปากร. (2533). จิตรกรรมไทยประเพณี. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์. (2560). สถานภาพฮูปแต้มอีสาน อดีตจนถึงปัจจุบัน. ใน โครงการสานสัมพันธ์วรรณกรรมไทย-ลาว ครั้งที่ 4 ฮูปแต้ม: มรดกวัฒนธรรมสองฟากฝั่ง 21-22 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมราชาวดีรีสอร์ท แอนด์ โฮเทล และวัดไชยศรี บ้านสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น. (หน้า 75-84). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรวัฒน์ พิระสันต์. (2540). วัฒนธรรมของชาวไทยที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(1), 105-114.

จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. (2525). สังคมไทยในจิตรกรรมฝาผนัง. ใน สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สองศตวรรษรัตนโกสินทร์ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เล่ม 2. (หน้า 393-480). กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดาราพร เหมือดนอก. (2541). เครื่องใช้ในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดบ้านยาง ตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษยศาสตร์) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีรชัย บุญมาธรรม. (2533). ประวัติศาสตร์สังคมอีสานตอนบน พ.ศ. 2318-2450. มหาสารคาม : วิทยาลัยครูมหาสารคาม.

ประนุช ทรัพยสาร. (2550). รายงานการวิจัยพัฒนาการของสังคมอีสาน ในพุทธศตวรรษที่ 24-25. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เพ็ญผกา นันทดิลก. (2541). จิตรกรรมฝาผนังเรื่องมหาเวสสันดรชาดกสิมวัดบ้านยาง ตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.

ภูสิทธิ์ ภูคำชะโนด. (2563). กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรรณิภา ณ สงขลา, สุรีพร โชติธรรมโน, พงศธร จะนะบูรณ์, พัชรินทร์ ศุขประมูล, ครรชิต รักษามารถ, และมานิตย์ ขีดกลาง. (2529). รายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังวัดบ้านยาง ตำบลบัวมาศ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ขอนแก่น : สำนักศิลปากรที่ 9 ขอนแก่น.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2528). การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2533). จิตรกรรมไทยประเพณี. กรุงเทพฯ : ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2529). ศิลปะไทยที่น่ารู้. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

สีหวัฒน์ แน่นหนา, อรพินธุ์ การุณจิตต์ และต่อศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2531). รายงานการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดโพธาราม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. ขอนแก่น : หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น.

สุพจน์ สุวรรณภักดี. (2533). การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดสนวนวารีพัฒนาราม บัานหัวหนอง ตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี เอกชนนิยม. (2548). ฮูปแต้มในสิมอีสาน: งานศิลป์สองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : มติชน.

หอสมุดสาขาวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2537). อักษรศิลป์พีระศรี. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ห้างหุ้นส่วนจำกัดปุราณรักษ์. (2558). รายงานโครงการบูรณะ อุโบสถ (สิม) วัดป่าเรไร บ้านหนองพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. ขอนแก่น : สำนักศิลปากร ที่ 9 ขอนแก่น.

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2543). ตามหาร่องรอยขอมและมอญในมหาสารคาม. มหาสารคาม : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.

Brereton, P., & Yencheuy, S. (2010). Buddhist murals of Northeast Thailand: Breflections of the Isan heart land. Chiang Mai : Mekong Press.