การวิเคราะห์เอกลักษณ์เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มพัฒนาอาชีพวัดบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุชาดา คันธารส
ศรศิลป์ โสภณสกุลวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนของกลุ่มพัฒนาอาชีพวัดบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อประยุกต์แนวทางการวิเคราะห์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการออกแบบตราสัญลักษณ์ และ 3) เพื่อประเมินผลการออกแบบตราสัญลักษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาปรับปรุงแบบตราสัญลักษณ์ตามข้อเสนอแนะ จำนวน 114 คน ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน ตัวแทนวัฒนธรรมจังหวัด สมาชิกกลุ่มพัฒนาอาชีพมอญวัดบางเดื่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และกลุ่มประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี สรุปผลการวิเคราะห์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนของกลุ่มพัฒนาอาชีพวัดบางเดื่อ ได้แก่ ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ วัดบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มพัฒนาอาชีพวัดบางเดื่อ ผลการประยุกต์แนวทางการวิเคราะห์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ด้วยแนวทางการวิเคราะห์แบบรื้อสร้าง ทำให้เกิดการสร้างสัญญะซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่หลากหลายและมีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ได้ภาพสัญญะตามความหมายและคำสำคัญ จากการถอดรื้อรูปความหมาย ได้แก่ เสาหงส์ ธงตะขาบ อุโบสถวัดบางเดื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ดอกบัว รวงข้าว สตรีชาวมอญ และลายดาวล้อมเดือน เมื่อถอดออกเป็นส่วนและนำมาทวนซ้ำโครงสร้าง ประกอบขึ้นเป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ ได้รูปแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งหมด 20 รูปแบบ ใช้หลักการประเมินผลทางการคิดเชิงมโนทัศน์ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มพัฒนาอาชีพวัดบางเดื่อคัดเลือกตราสัญลักษณ์ และประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ได้แบบตราสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 1 รูปแบบ นำไปประเมินผลความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้ผลการประเมินอยู่ที่ระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ( )  4.18

Article Details

How to Cite
คันธารส ส., & โสภณสกุลวงศ์ ศ. (2024). การวิเคราะห์เอกลักษณ์เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มพัฒนาอาชีพวัดบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 188–219. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/266431
บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ แก้วกมล, นิติคุณ ท้าวทอง, สุปวีณ์ รสรื่น, อนุศิษฎ์ เพชรเชนทร์, อมรรัตน์ รัตนสุภา, และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(1), 77-94.

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2563). การศึกษาแนวคิดบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 55-84.

ทองเจือ เขียดทอง. (2548). การออกแบบสัญลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สิปประภา.

บงกชรัตน์ ล้ำเลิศ, พงศ์พินิจ พินิจดำ, และวรางคณา กรเลิศวานิช. (2562). การศึกษาและพัฒนาตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(1), 20-34.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-118.

ประชิด ทิณบุตร, และนรรชนก ทาสุวรรณ. (2561). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน 2. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 126-141.

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2561). การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณีแห่หางหงส์ ธงตะขาบ สู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม:การออกแบบสร้างสรรค์ชุดการแสดงสำหรับการนำเสนอภาพลักษณ์ทางท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 26-40.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2550). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น. (2552). การวิเคราะห์รูปแบบในงานศิลปะและบุคลิกลักษณะ (Style) ของศิลปิน. วารสารรูสมิแล, 30(3), 87-95.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

วิไล อัศวเดชศักดิ์. (2560). การใช้สัญญะในการออกแบบตราสัญลักษณ์ของคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารนิเทศศาสตร์. 35(1), 79-99.

สหวัฒน์ แน่นหนา. (2555). การเพิ่มมูลค่าให้แก่ทุนทางวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2566, จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/7297-บทความ--การเพิ่มมูลค่าให้แก่ทุนทางวัฒนธรรม-โดยนายสหวัฒน์-แน่นหนา-อธิบดีกรมศิลปากร.

สุชาติ เถาทอง. (2562). วิธีคิดทางศิลปะและการออกแบบขั้นสูง คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการความรู้ใหม่. ชลบุรี : บางแสนการพิมพ์.

สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธีโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.