การศึกษาวงปี่พาทย์คณะยอดนิยม พนมมือหวาน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร A Study On PeePart Of Yod Niyom Panom Muewarn Band At Tapha-Hin District Phichit Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวงปี่พาทย์คณะยอดนิยม พนมมือหวาน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็น
การศึกษา ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และรวบรวมบทเพลงต่างๆของวง วิธีการวิจัย ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของวงปี่พาทย์ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับวงปี่พาทย์ ผลการศึกษาพบว่าวงปี่พาทย์คณะยอดนิยม พนมมือหวานเป็นวงปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงในอำเภอ
ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ได้ก่อตั้งขึ้นโดยนายพรหม หวังผลกลาง เมื่อปีพ.ศ. 2527 ที่ บ้านเลขที่ 54/2ตำบลตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เริ่มต้นจากมีเครื่องดนตรีเพียง 3 ชิ้น และสามารถแสดงงานต่างๆจนมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมในอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จนสามารถซื้อเครื่องดนตรีได้ครบเครื่องคู่ และซื้อเครื่องมอญเป็นวงแรกในอำเภอตะพานหิน จนสามารถยังสร้างชื่อเสียงให้แก่วง โดยเป็นวงแรกที่ใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบการแสดงลิเก สืบทอดวงดนตรีต่อโดยนายปริญญา หวังผลกลาง ภายในคณะประกอบด้วยนักดนตรีซึ่งเป็นสมาชิกภายในครอบครัวเป็นหลัก คณะยอดนิยม พนมมือหวานได้ต่อเพลงจากอาจารย์สำริด น้อยภู่ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในแถบนั้น ปัจจุบันคณะยอดนิยม พนนมือหวานสามารถรับงานดนตรีเกือบทุกประเภท เช่น งานแต่งงาน งานบวชนาค งานศพ งานบรรเลงประกอบการแสดงลิเก เป็นต้น ซึ่งคณะยอดนิยม พนมมือหวานมีเครื่องดนตรีที่สามารถใช้งานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งเครื่องดนตรีไทย และเครื่องมอญ คณะยอดนิยม พนมมือหวานเป็นวงดนตรีชาวบ้านซึ่งมีลักษณะการต่อเพลงแบบมุขปาฐะ คือต่อแบบท่องจำ ไม่มีการบันทึกโน้ตเก็บไว้ ผู้วิจัยจึงศึกษารวบรวมโน้ตเพลงของคณะยอดนิยม พนมมือหวาน โดยบันทึกเป็นโน้ตฆ้องวงใหญ่ และแบ่งประเภทเป็นงานที่ใช้เครื่องดนตรีไทยพร้อมโน้ตเพลงที่ใช้ในงานนั้นๆ ได้แก่ งานแต่งงาน ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เพลงที่บรรเลงในงานทั้งหมด 12 เพลงงานบวชนาค ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เพลงที่บรรเลงในงานมีทั้งหมด 11 เพลง และงานไหว้ครู (ประเภททรงเจ้า) ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพลงที่บรรเลงในงานมีทั้งหมด 6 เพลง ประเภทงานที่ใช้เครื่องดนตรีมอญ ได้แก่ งานศพ ใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ เพลงที่บรรเลงในงานมีทั้งหมด 11 เพลง และงานบรรเลงประกอบการแสดงลิเก ใช้วงปี่พาทย์มอญ เพลงที่บรรเลงในงานมีทั้งหมด 11 เพลง การบรรเลงบทเพลงในแต่ละงานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานนั้นๆ
Yod Ni Yom Panom MueWarn Band was founded by Mr. Braham WangPonKlang in 1984 at 54/2 Taphan Hin District Phichit Province Thailand he started form a musical instrument 3 pieces. Until he can bougth a Morn musical instrument. altogether and be the first band in Taphan-hin district Build a reputation form use a Morn music instruments. Aseembly the Li-Ke show. Inherited by Mr. Parinya WangPonKlang. The mainly of the band comsists the members of their family. They has Master Somrid NoiPoo been a teacher of Yod Ni Yom Panom MueWarn Band, At present they can receive a job all kind. Example wedding ceremony, an ordination , funeral, Li-Ke show etc. So Yod Ni Yom panom MueWarn Band can play the Thai musical instrument and Morn musical instrument completiy. Yod Ni Yom Panom MueWarn Band is the band of villagers. The learned form memory. they are not record notes. So the researcher collected notes of Yod Ni Yom Panom MueWarn Band by recording notes of a KhongWongYai and classify job. That is the Thai musical instrument jobs and the Morn musical instrument jobs. The Thai musical instrument jobs including a wedding ceremony use a PeePart 5 pieces total 12 music, an ordination ceremony usd a PeePart 5 pieces total 11 music, a sorcerer’s dance for spirits use a PeePart 8 pieces total 6 music. The Morn musical instrument jobs including funeral have a PeePart Morn 8 piece total 11 music, the Li-Ke show use PeePartMorn total 11 music. Regularly they use a music depend on a job.
Article Details
Content and information in articles published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is regarded as the opinion and sole responsibility of the author(s) directly; therefore, editors are not obliged to agree to or share any responsibility with regard to the content and information that appears within these articles.
All articles, information, content, image, etc. that have been published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is the copyright of the Journal of Fine and Appllied Arts of Khon Kaen University. Any person or organization who wishes to distribute all or parts of the articles for further dissemination or other usage must first receive permission from the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University before proceeding to do so.