ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายของไทยในการส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย กรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ปิยนาถ อิฏฐกรพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์

คำสำคัญ:

การค้าชายแดน, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, ชายแดนไทย – มาเลเซีย, นโยบาย, เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษจังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายของไทยในการส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย กรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา โดยใช้แนวคิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน (complex interdependence) ของ Robert O. Keohane และ Joseph S. Nye เป็นกรอบการศึกษา และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา และการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย
          จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา สามารถสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ 1) กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน ทำให้รัฐบาลไทยได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และส่งเสริมการเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น 2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย – มาเลเซีย - ไทย (Indonesia –Malaysia – Thailand Growth Triangle : IMT – GT) ทำให้เกิดการกำหนดแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน และการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย และ 3) ความต้องการพัฒนาพื้นที่ชายแดนของประเทศมาเลเซีย ผ่านแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจในบริเวณแนวภาคเหนือ (Northern Corridor Economic Region : NCER) ซึ่งกรอบความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยกับมาเลเซีย โดยปัจจัยทั้ง 3 ประการ เป็นปัจจัยจากบริบทภายนอกประเทศ (External Factors) ที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยกำหนดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และพัฒนาพื้นที่ชายแดนในจังหวัดสงขลาเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซียอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2563). สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทย ปี 2562 (ม.ค.–ธ.ค.). http://www.dft.go.th/bts/trade-report

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. https://www.ieat.go.th/sez

คำสั่งคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติที่ 72/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. (2557, 27 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 131 ตอนพิเศษ 120 ง . หน้าที่ 11–12.

เรวดี แก้วมณี. (ม.ป.ป.). ส่องความคืบหน้ากฎหมายเดินเครื่อง “เขตเศรษฐกิจพิเศษ”. สำนักนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค. http://www.fti-samutprakan.com/upload/news/files/12651a4494cb6a65-att.pdf

ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา. (ม.ป.ป.). ความเป็นมา. https://oss.songkhla.go.th/content/information/2

สุณัย ผาสุข. (2539). นโยบายต่างประเทศของไทย: ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12483

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6210

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนบริเวณจังหวัดสงขลา ประเทศไทย-เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3782

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 --2559). https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11189

Bui, T. M. T. (2019). SEZ Development in Cambodia. Thailand and Vietnam and the regional value chains. In Daisuke Hiratsuka (Eds.), EEC Development and Transport Facilitation Measures in Thailand, and the Development Strategies by the Neighboring Countries (pp. 82–117). Bangkok Research Center.

Krainara, C. & Routray J. K. (2015). Cross-border trades and commerce between Thailand and Neighboring countries: policy implications for establishing Special Border Economic Zone. Journal of Borderlands Studies, 30(3), 344 – 363. https://doi.org/10.1080/08865655.2015.1068209

Northern Corridor Implementation Authority (NCIA). (n.d.). Bukit kayu Hitam Special Border Economic Zone. NCER Malaysia.https://www.ncer.com.my/strategic-projects-programmes/strategicinfrastructure/bukit-kayu hitam-special-border-economic-zone/

Lord, M. J. & Tangtrongjita, P. (2014, May 15). Special Border Economic Zone (SBEZ) in the Indonesia–Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT – GT). https://mpra.ub.uni-muenchen.de/61060/1/MPRA_paper_61060.pdf

Keohane, R. O. & Nye, J. S. (1977). Power and interdependence: world politics in transition. Little, Brown, and Company.

Ministry of Transport of Malaysia. (n.d.) port development integrated intermodal transport. https://www.unescap.org/sites/default/files/Malaysia_CBStrengthening%20Transport_March.pdf

The World Bank Group. (2017). Special Economic Zones an Operational Review of Their Impacts. https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/29054/P154708-12-07-2017-1512640006382.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย