การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความตัวละคร “ราม” ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, ราม, ทฤษฎีภาวะและรสบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาในหัวข้อ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความตัวละคร “ราม” ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ถือเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำแนวความคิดการนำเอาตัวละคร “ราม” ในรามายณะมาตีความใหม่ในบริบทที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความเป็นมนุษย์และแสดงให้เห็นถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ตัวละครนี้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และการแสดงออกทางพฤติกรรมความเป็นมนุษย์ โดยผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีรสและภาวะ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางตะวันออก เพื่อจำแนกถึง”ภาวะ” ในสภาพการณ์ที่ปรากฏ จนทำให้เกิด “รส” อันประกอบไปด้วย รสทั้ง 9 คือ รัก โกรธ เศร้า เกลียด กล้าหาญ กลัว อัศจรรย์ใจ ขบขัน และสงบ และนำมาวิเคราะห์ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์และพฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฎีของทางตะวันตก โดยใช้แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ 3 ประการ คือ (1) แนวคิดทางองค์ประกอบศิลปะ (2) แนวคิดพหุวัฒนธรรม และ (3) แนวคิดหลังสมัยใหม่
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงทั้ง 9 ชุดเป็นการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงโดยไม่มุ่งเน้นการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียวแต่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการค้นหาพัฒนารูปแบบการแสดง และมากกว่าการวางท่าทางเพื่อความสวยงาม หรือการแสดงเอกลักษณ์ทางนาฏยศิลป์ประจำชาติเท่านั้น รวมทั้งการทำให้ผู้แสดงสามารถดึงอารมณ์ ความรู้สึกจากภายในของตนเองออกมาได้และแสดงออกร่วมกับการทำท่าทางนาฏยศิลป์ได้อย่างลงตัว ซึ่งนำแนวคิดการให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย (Minimalism) มาปรับใช้ให้เข้ากับองค์ประกอบรูปแบบการแสดงทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ (1) บทการแสดง (2) นักแสดง (3) ลีลานาฏยศิลป์ (4) ดนตรีและเสียงที่ใช้ประกอบการแสดง (5) เครื่องแต่งกาย (6) พื้นที่การแสดง (7) แสงสี (8) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ซึ่งผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นนั้น จะสามารถเป็นการพัฒนานาฏยศิลป์สร้างสรรค์ให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าใจในเรื่องราวที่สอดแทรกคติอันดีงามได้โดยง่าย
Downloads
References
กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551) งานฉากละคร 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงธิดา ราเมศวร์. (2558). ต้นตำนานรามเกียรติ์ จากต้นฉบับเดิม รามายณะ. กรุงเทพฯ: กอแก้ว.
ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ ศป.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ).
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทมา วัฒนพานิช. (2556). บทบาทนางนารายณ์ในการแสดง นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เรื่อง นารายณ์อวตาร (วิทยานิพนธ์ ศศ.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ).
มัทนี รัตนิน. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการกำกับการแสดงละคอนเวที. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แสง มนวิทูร. (2511). คัมภีร์นาฏยศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
สุรสิทธิ์ วิเศษสิงห์. (2556). อรรถรสในนาฏศิลป์ผ่านนาฏกรรมแนวใหม่ เรื่อง นารายณ์อวตาร (วิทยานิพนธ์ ศศ.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ).
เอกสารภาษาอังกฤษ
Devdutt Pattanaik. (2015). The Book of Ram. New Delhi: Penguin Books.